กรรมในนวนิยาย เรื่อง ขอจำจนวันตาย ของ รพีพร

Main Article Content

ประภาพร ธนกิตติเกษม

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์กรรมในนวนิยายเรื่อง ขอจำจนวันตาย ของ รพีพร ผู้วิจัยใช้แนวคิดกรรม ของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ประยุทธ์ ปยุตฺโต เพื่อศึกษาวิเคราะห์กรรมตามนัยแห่งพุทธธรรม หมวดจำแนกกรรมตามเวลาที่ให้ผลแห่งกรรมที่ปรากฏในเรื่อง โดยศึกษาจากบทพูดของตัวละครและภูมิหลังของเหตุการณ์ กรรมที่ปรากฏนำไปสู่ผลกรรมอย่างไร และนำไปสู่แนวทางปฏิบัติเพื่อความสงบสุขของชีวิตอย่างไร วัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวคิดเรื่องกรรม และวิเคราะห์กรรมส่งผลให้เกิดผลของกรรม จากการศึกษากรรมในนวนิยายเรื่อง ขอจำจนวันตาย พบว่ากรรมที่ปรากฏมี 3 ระดับ ได้แก่ 1. ระดับบุคคล 2. ระดับครอบครัว 3. ระดับสังคม ทั้งสามระดับ จำแนกตามเวลาที่ให้ผลแห่งกรรม ปรากฏ 3 ลักษณะ ได้แก่ 1. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม คือ กรรมที่ส่งผลในชาตินี้ เกิดในช่วงเวลาใดของชีวิตก็ได้ 2. อปราปริยเวทนียกรรม คือ กรรมดีหรือ กรรมชั่วที่ส่งผลในอนาคต และ 3. อโหสิกรรม คือ กรรมดีหรือกรรมชั่วที่ไม่ส่งผล ไม่ปรากฏ 1 ลักษณะ ได้แก่ อุปปัชชเวทนียกรรม คือ กรรมที่ให้ผลในชาติหน้า เรื่องสะท้อนข้อคิดเรื่องกฎแห่งกรรม ให้กระทำความดี ละเว้นความชั่วอันเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตให้เกิดความผาสุก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญเนตร ครุฑานุช. การวิเคราะห์นวนิยายของสีฟ้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2534.

พัชรินทร์ บูรณะกร. ความโศกในปัญญาสชาดก: อารมณ์สะเทือนใจกับการสอนคติธรรมทางพุทธศาสนา, วิทยานิพนธ์ ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาภาษาไทย, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551.

พุทธโฆษาจารย์ประยุทธ์ ปยุตฺโต, สมเด็จพระ. กรรมตามนัยแห่งพุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ฟ จำกัด, 2561

รัญจวน อินทรกำแหง. วรรณกรรมวิจารณ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นาคร, 2539.