การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเชิงบูรณาการในพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท กรณีศึกษา เทศบาลตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

สุเทพ คำเมฆ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่ และเสนอแนวทางและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแก่ชุมชนในการนำข้อมูลมาใช้ในวางแผนและพัฒนาคุณภาพชีวิตเชิงพื้นที่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้สูงอายุในพื้นที่ แกนนำ ผู้นำ สหวิชาชีพในชุมชน และหัวหน้าหน่วยงานในพื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา


ผลการศึกษา พบว่า ผลการประเมินคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พบว่า คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาพกายและจิตใจ ( = 2.69) เศรษฐกิจ ( = 2.59) ความสัมพันธ์ทางสังคม ( = 2.98) และสภาพสิ่งแวดล้อม (ค่าเฉลี่ย ( = 3.00) ซึ่งคุณภาพชีวิตในแต่ละด้านอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด ซึ่งแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเชิงพื้นที่ผ่านการขับเคลื่อนด้วยการนำข้อมูลเชิงตัวเลขสถานการณ์เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่มากำหนดทิศทางในการพัฒนาและช่วยเหลือผู้สูงอายุทั้งในระดับท้องถิ่นแบบบูรณาการซึ่งถือว่าเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาผู้สูงอายุ เพราะผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาทั้งในระดับบุคคล ระดับครอบครัว และระดับชุมชน ดังนั้นจึงต้องมีบูรณาการการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุทั้งในระดับนโยบายของหน่วยงานภาครัฐตั้งแต่ระดับจังหวัดสู่การปฏิบัติงานของหน่วยงานท้องถิ่นในระดับพื้นที่ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของหน่วยงานของการวางแผน การปฏิบัติงาน ระบบติดตามประเมินผล และแก้ไขและพัฒนา ที่เชื่อมโยงกลไกการทำงานด้านผู้สูงอายุของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ที่เรียกว่า “เครือข่ายสหวิชาชีพชุมชนดูแลกลุ่มผู้สูงอายุเชิงพื้นที่” เน้นการทำงานเชิงรุกในการพัฒนาองค์ความรู้และความร่วมมือกันในการกำหนด “แผนชุมชนสำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเชิงพื้นที่” ได้แก่ แผนระบบดูแลและจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ แผนกิจกรรม แผนการบริหารงานทั่วไป และแผนด้านแหล่งกองทุนและศูนย์พัฒนาผู้สูงอายุ และต้องการเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการเสนอปัญหา ความต้องการ และการให้จัดลำดับความสำคัญของปัญหา บนฐาน“การใช้ประโยชน์ระบบข้อมูลสารสนเทศของผู้สูงอายุเชิงพื้นที่ในเทศบาลตำบลพลายชุมพล” เพื่อเป้าหมายสุดท้าย คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้ครบทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย จิตใจ สังคม เศรษฐกิจ และสิงแวดล้อมในพื้นที่ตามคุณลักษณะปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุทุกกลุ่มได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กตัญญู แก้วหานาม และคณะ. การสร้างเครือข่ายในการจัดทาแผนชุมชนภายใต้บริบทความเป็นอิสระขององค์กรปกครองท้องถิ่นในจังหวัดกาฬสินธุ์. มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 2560.

กมลชนก ขาสุวรรณ และมาลี ลิ่มสกุล. คุณค่าของผู้สูงอายุในระบอบของความเป็นจริง :ความท้าทายของนักวิจัยด้านสังคมศาสตร์ในปัจจุบัน. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ 25(1), 2560. หน้า 135-136.

สานักงานเทศบาลพลายชุมพล. แผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลพลายชุมพล จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ.2561-2565. จังหวัดพิษณุโลก, 2563.

พิทยา ทองหนูนุ้ย. กระบวนการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชน. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลบ้านควนดินแดง.จังหวัดพัทลุง, 2561.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2562. กรุงเทพมหานคร, 2562.

วิชิตร์ แสงทองล้วน. แนวทางการบูรณาการการทางานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัด. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร กรุงเทพมหานคร, 2560.

ศูนย์ข้อมูลประเทศไทย. จานวนข้อมูลประชากรผู้สูงอายุ ปี 2555. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2563, จาก http://phitsanulok.kapook.com/เมืองพิษณุโลก, 2555.

ศิลปสวย ระวีแสงสูรย์. แนวทางการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้สูงอายุของกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร. กรุงเทพมหานคร, 2559.