การลดความเครียดและพฤติกรรมการจัดการความเครียดของกลุ่มเกษตรกรที่เป็นสมาชิกธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ตำบลบ้านฝาง อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

สิทธิพร เกษจ้อย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มเกษตรกรที่เป็นสมาชิกธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ตำบลบ้านฝาง อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่ผลทำให้เกิดความเครียดของกลุ่มเกษตรกรที่เป็นสมาชิกธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการความเครียดและการลดภาวะความเครียด และ 4) แนวทางในการลดความเครียดของกลุ่มเกษตรกรที่เป็นสมาชิกธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ตำบลบ้านฝาง อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น คณะผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 279 คน แล้วนำ มาวิเคราะห์ประมวลผลโดยใช้ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean), ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)


ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มเกษตรกรส่วนมากเป็นเพศชาย ร้อยละ 52.30 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 47.70 กลุ่มเกษตรกรส่วนมากมีอายุ 41 – 50 ปี ร้อยละ 39.40 กลุ่มเกษตรกรส่วนมากเป็นชาวนาปลูกข้าว ร้อยละ 65.60 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 54.10มีรายได้ 50,000 – 60,000 บาทต่อปี ร้อยละ 30.10 มีภาระหนี้สิน 50,000 บาท ร้อยละ 45.90 และส่วนมากกลุ่มเกษตรกรมีสถานภาพสมรส ร้อยละ 77.80.


ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียด ของกลุ่มเกษตรกรที่เป็นสมาชิกธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ตำบลบ้านฝาง อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น มี 3ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสุขภาพอนามัย ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของกลุ่มเกษตรมากคือปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเพราไม่สามารถควบคุมได้ ส่วนพฤติกรรมการจัดการความเครียดและการลดภาวะความเครียด กลุ่มเกษตรกรมีการทำความเข้าใจและยอมรับเกี่ยวกับสภาวะของเศรษฐกิจที่ผันผวน ศึกษาหาความรู้เกี่ยวการทำการเกษตรสมัยใหม่แบบผสมผสาน แสวงหาความรู้ในการทำเกษตรและการพัฒนาความรู้ของตน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอุตุนิยมวิทยา. ภัยแล้งแล้ง. [online]. Available: https://www.tmd.go.th. [2563, กรกฏาคม 30].

จิตคุปต์ ละอองปลิว. การปรับตัวและการมีส่วนร่วมของเกษตรกรผู้ใช้น้าในพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท กรณีศึกษา อาเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี. Journal of Humanities and Social Sciences Thaksin University. 10(2).หน้า151-177, 2559.

นุจนาจย์ งิดชัยภูมิ. การปรับตัวของเกษตรกรรายย่อยในการลด ต้นทุนการผลิตข้าวนาน้าฝน อาเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรคณะเกษตรศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.43(2). หน้า 246 – 248, 2555.

ภูริตา เกิดปรางค์ และสวรรยา ธรรมอภิพล. การปรับตัวเชิงรุกของเกษตรกรสวนส้มโอจังหวัด นครปฐม. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.4 (1).หน้า 21-43, 2560.

ปุรวิชญ์ พิทยาภินันท์,พลากร สัตย์ซื่อ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางจากปัญหาราคายางพาราตกต่า อาเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 37 (2).หน้า71-84, 2561.

มติชนออนไลน์. ธ.ก.ส.เผยเกษตรกรมีหนี้.[ online]. Available: http://www.matichon.co.th, 2562[2563,กุมภาพันธ์ 26].

รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล และคณะ. ความชุกของภาวะความผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อใน ชาวนา กรณีศึกษา ตาบลศิลา อาเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารเทคนิค การแพทย์และกายภาพบาบัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 23 (3). หน้า297-303, 2554.

วิเชียร เกิดสุข และพัชรินทร์ ฤชุวรารักษ์. การการปรับตัวของเกษตรกรชาวนาทุ่งกุลาร้องไห้ ต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2555.

สุกฤตา สงวนพันธุ์. ทาความรู้จักกับหนี้ครัวเรือน ปรากฏการณ์หนี้ครัวเรือนสูงในไทย และ ต่างประเทศ. [online]. Availble: http://www.bot.or.th. [2563,กุมภาพันธ์ 26].

Agriculture and Technology. ประวัติของการเกษตรไทย. [online]. Available: https://sites.google.com/site/agricultureandtechnology3278/home/prawati-khxng-karkestr-thiy, 2558. [2563, กุมภาพันธ์ 26].

Yamane, Taro. Statistics: An Introductory Analysis, 2nd Edition, (New York: Harper and Row), 1967. [online]. Available: http://www.sciepub.com/reference/180098 http://www.sciepub.com/reference/180098. [2563,กุมภาพันธ์26].