กระบวนการและเส้นทางการลักลอบค้ามนุษย์ในแรงงานภาคการประมงของประเทศไทย

Main Article Content

ทัศนีย์ ปัทมสนธิ์
อรุณี กาสยานนท์
กฤติมา อินทะกูล

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องกระบวนการและเส้นทางการลักลอบค้ามนุษย์ในแรงงานภาคการประมงของประเทศไทย  มีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ      1) เพื่อศึกษากระบวนการและเส้นทางการลักลอบค้ามนุษย์ในแรงงานภาคการประมงของประเทศไทย และ 2) เพื่อศึกษารูปแบบ ลักษณะ วิธีการ เครือข่าย การลักลอบค้ามนุษย์ในแรงงานภาคการประมงของไทย โดยเก็บข้อมูลจากแรงงานต่างด้าวที่เป็นผู้ใช้แรงงานในภาคการประมงของไทย ในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครและระนอง จำนวน 114 คนด้วยแบบสอบถาม สัมภาษณ์เชิงลึก เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและตัวแทนผู้ประกอบการภาคเอกชนในธุรกิจการประมง ผลการวิจัย พบว่า  กระบวนการและเส้นทางการเข้ามาทำงานเริ่มจากการติดต่อกลุ่มคนที่ต้องการเข้ามาใช้แรงงานในเมืองไทย ผ่านนายหน้าที่มีหลากหลายและมีเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาพัวพันร่วมขบวนการเป็นขุมเครือข่ายใหญ่มีอิทธิพล  ช่องทางการเข้าเมืองส่วนใหญ่เป็นการหลบหนีเข้าเมืองตามเส้นทางธรรมชาติ รูปแบบการเดินทางโดยมากจะมาเป็นกลุ่ม โดยมีนายหน้าฝั่งไทย คอยจัดส่งกลุ่มแรงงานกระจายไปยังเป้าหมาย ผ่านการหลอกลวง การสร้างหนี้ การบังคับขู่เข็ญ การกักขังหน่วงเหนี่ยว ภายใต้เงื่อนไขทำงานก่อน พอมีรายได้จะถูกหักค่าขนส่ง ค่านายหน้า ทำให้ต้องถูกกักตัวเพื่อทำงานแลกเงิน ในส่วนของแนวทางป้องกันและปราบปรามการลักลอบการค้ามนุษย์ที่สำคัญคือการแก้ไขปัญหาในเชิงโครงสร้างโดยการบูรณาการทั้งความคิดและวิธีการปฏิบัติของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน  ทั้งนี้กฎหมายต้องสามารถบังคับใช้ได้อย่างจริงจังกับนายหน้า ผู้ประกอบการ และการทุจริตคอร์รัปชั่นของเจ้าหน้าที่รัฐ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤตยา อาชวนิชกุล และพันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร. คาถามและข้อท้าทายต่อนโยบายรัฐ. 2548.

กองบังคับการปราบปรามการกระทาผิดต่อเด็กและสตรี (บก.ปดส.). สถิติคดีการค้ามนุษย์ (1 กรกฎาคม 2551 – 31 ตุลาคม 2551). กรุงเทพมหานคร สานักงานตารวจแห่งชาติ, 2551.

โครงการความร่วมมือสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ในอนุภาคลุ่มแม่น้าโขง (UNIAP). พันธกิจในการสนับสนุนและประสานงานเครือข่ายต่อการค้ามนุษย์. วารสาร UNIAP ประเทศไทย, 2548.

ไทยในการจัดการปัญหามิติสุขภาวะและสิทธิของแรงงานข้ามชาติ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม.

ธนสุนทร สว่างสาลี และสมิหรา จิตตลดากร. การนานโยบายการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ไปปฏิบัติเชิงบูรณาการในเขตพื้นที่จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2561.

พัทฐกร ศาสนะสุพินธ์. กระบวนการย้ายถิ่นข้ามชาติของผู้ย้ายถิ่นที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 เมษายน – มิถุนายน 2554.

สานักบริหารแรงงานต่างด้าว. ข้อมูลคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทางานใหม่ทั่วราชอาณาจักร. 2552. (ออนไลน์), แหล่งที่มา: http://www.policy.doe.go.th/ebookdoc/020400009731_1.pdf. เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2562.

สุภางค์ จันทวานิชและคณะ. การใช้แรงงานเด็กภาคประมง ต่อเนื่องประมง เกษตรกรรมและคนรับใช้ในบ้านจังหวัดสมุทรสาคร. กรุงเทพมหานคร ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชียสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559