การพัฒนาแอพพลิเคชั่นการท่องเที่ยวของอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา 2. เพื่อพัฒนาแอพพลิเคชั่นการทางท่องเที่ยวในอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา และ 3. เพื่อพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวในอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) แหล่งท่องเที่ยวในอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา มีความสำคัญต่อการเสริมรายได้ของคนในชุมชนและช่วยพัฒนาศักยภาพความแข็งแรงชุมชนให้เข้มแข็งได้ด้วยตนเอง การพัฒนาข้อมูลท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นข้อมูลแหล่งวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยว เป็นการสนับสนุนเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวอำเภอสีคิ้วโดยใช้ระบบแอพพลิเคชั่นที่ทันสมัยและน่าสนใจมากขึ้น
2) พัฒนาแอพพลิเคชั่นการทางท่องเที่ยวในอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา แสดงข้อมูลการท่องเที่ยวที่แนะนำจากระบบ รวมทั้งหมวดหมู่การท่องเที่ยว นำทางไปยังเส้นทางการท่องเที่ยวในด้านต่าง ๆ ระบบเส้นทางท่องเที่ยว จะแสดงเส้นทางด้านการท่องเที่ยว โดยระบบสามารถเชื่อมโยงไปยังระบบแผนที่และนำทางสำหรับการเดินทางได้ ยังสามารถให้ผู้ใช้งานได้แสดงความรู้สึกกับแอพพลิเคชั่นในข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ ได้อีกด้วย
3) สร้างเครือข่ายสถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา มีความเชื่องโยงซึ่งกันและกันทั้งในด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านศาสนา ด้านการศึกษาทางธรรมชาติ ที่เป็นกรณีศึกษาดังกล่าวนั้น เกิดจากการดำเนินกิจกรรม การพัฒนาและการขยายเครือข่ายการส่งเสริมการท่องเที่ยวของสังคมที่มาจากการเรียนรู้ภายในของกลุ่มประชาชนและผู้ประกอบการที่มีความมุ่งมั่นในการที่จะพัฒนาบุคคล และสถานที่เพื่อเชื่องโยงการท่องเที่ยวเชิงการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม การปฏิบัติธรรมและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และการศึกษาทางธรรมชาติ
Article Details
References
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. วิถีไทย: การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร. อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง, 2550.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร. ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2558.
พรรณวดี แก้วเรือง. “การพัฒนาโปรแกรมแนะนาเส้นทางการท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานีบนระบบอินเตอร์เน็ต”. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2550.
สานักงานจังหวัดนครราชสีมา. คู่มือการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร. สานักพิมพ์ บริษัท พี.เอ. ลิฟวิ่ง จากัด, 2559.
สุชาดา กีระนันทน์. เทคโนโลยีสารสนเทศสถิติ. กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551.
สุเพชร จิรขจรกุล. เรียนรู้ระบบภูมิสารสนเทศด้วยโปรแกรม ARCGIS DESKTOP. นนทบุรี. บริษัท เอส.อาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จากัด, 2551.
อาภรณ์ สนทรวาท. การพัฒนาเส้นทางเชื่อโยงเส้นทางการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในจังหวัดราชบุรีเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. ราชบุรี. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, 2551.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. กลยุทธ์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร. เอช อาร์ เซ็นเตอร์, 2551.