หลักพุทธธรรมสำหรับการพัฒนาสุขภาวะของผู้สูงอายุ

Main Article Content

ทัศมาวดี ฉากภาพ
กรกต ชาบัณฑิต

บทคัดย่อ

หลักพุทธธรรมสำหรับการพัฒนาสุขภาวะของผู้สูงอายุ เป็นการนำเสนอหลักแนวคิดตะวันตก: มิติแห่งการพัฒนาสุขภาวะของผู้สูงอายุซึ่งเป็นแนวคิดของอดัมส์ แนวคิดของไมเยอร์ และแนวคิดของไรฟ์ และหลักแนวคิดตะวันออก: มิติแห่งการพัฒนาสุขภาวะของผู้สูงอายุ กล่าวถึงสุขภาวะแบบองค์รวมตามแนวพุทธของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ซึ่งหลักภาวนา 4 ประกอบด้วย ด้านกายภาวนา (การพัฒนาด้านร่างกาย) ด้านสีลภาวนา (การพัฒนาด้านพฤติกรรม) ด้านจิตภาวนา (การพัฒนาด้านจิตใจ) ด้านปัญญาภาวนา (การพัฒนาด้านปัญญา) เป็นเครื่องมือในการพัฒนาสุขภาวะของผู้สูงอายุให้ดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การพัฒนาสุขภาวะของผู้สูงอายุนั้นต้องมีองค์กรหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างเป็นรูปธรรมและบริหารจัดการคุณภาพของผู้สูงอายุให้ประสิทธิภาพมีความมั่นคง ยั่งยืน และสนับสนุนส่งเสริมสวัสดิภาพ สวัสดิการของผู้สูงอายุให้ได้รับความเท่าเทียม และพัฒนาระบบภาคีเครือข่ายผู้สูงอายุในสังคมโดยวางแผนร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระดมความคิดเห็น สร้างระบบคุณภาพของผู้สูงอายุให้ทัดเทียมกับประเทศอื่น ๆ ทั้งด้านสถานที่พัก ด้านอาหารโภชนาการ ด้านการพยาบาล การแพทย์ และด้านอารมณ์ สภาพจิตใจ ซึ่งจำเป็นต้องมีบุคคลหรือหน่วยงานที่ดูแลอย่างใกล้ชิด ปลูกฝังกำลังใจ ความรัก และความหวัง ให้ผู้สูงอายุได้มีแรงบันดาลใจในการดำรงชีวิตอย่างเข็มแข็งในสังคมสืบไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรกต ชาบัณฑิต. พุทธธรรมาธิปไตย.วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 2564, 7(2), หน้า239 –246.

ประเวศ วะสี. บนเส้นทางใหม่การส่งเสริมสุขภาพ อภิวัฒน์ชีวิตและสังคม. กรุงเทพมหานคร หมอชาวบ้าน, 2541.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). ธรรมนูญชีวิต.พิมพ์ครั้งที่ 32, กรุงเทพมหานคร บริษัทสหธรรมิก จากัด, 2547.

พระมหาสากล สุภรเมธี(เดินชาบัน ดร.). การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมตามแนวพุทธปรัชญา. วารสาร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2558).

มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ. สถานการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทย (ด้านประชากร). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://fopdev.or.th [25 พฤษภาคม 2563].

รศรินทร์ เกรย์ และคณะ. มโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุ: มุมมองเชิงจิตวิทยาสังคมและสุขภาพ. เอกสารทางวิชาการ.สถาบันวิจัยประชากรและสังคม: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556.

อัจศรา ประเสริฐสินและคณะ. สุขภาวะของผู้สูงอายุ แนวคิดและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารสุขศึกษา. ปีที่ 41 เล่มที่ 1, มกราคม – มิถุนายน 2561.

อาพล จินดาวัฒนะ. การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม. วารสารประมวล สาระชุดวิชาระบบสุขภาพและการจัดการ, 2547.

Adams, Bezner, Drabbs, Zambarano, & Steinhard. Conceptualization and measurement of the spiritual and psychological dimensions of wellness in a college population.Journal of American college health, 48(4), (2000).

Myers, J. E., Sweeney, T. J., & Witmer, J. M..The wheel of wellness counseling for wellness: A holistic model for treatment planning. Journal of Counseling & Development, 78(3), (2000).