การบริหารจัดการภาครัฐต่อปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำของสังคม
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันกระแสการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ไม่ว่าจะการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง จะต้องได้รับความร่วมมือกับภาคีภาคส่วนต่างๆ ในการขับเคลื่อนทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน เพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ ร่วมกันของชุมชน ชุมชนมีบทบาทในการขับเคลื่อน ดังนั้นถ้าผู้นำที่เก่ง มีทักษะในการบริหารที่ดี เสริมสร้างบุคคลให้เข้มแข็งทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ในด้านเศรษฐกิจให้มีความรู้ความสามารถและศักยภาพที่จะยกฐานะทางเศรษฐกิจให้พ้นจากความยากจน ส่วนด้านสังคมก็มีแนวทางการดำรงชีวิตที่ถูกต้อง ส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนตรวจสอบติดตามการดำเนินงานของภาครัฐ ให้มีการดำเนินงานการใช้อำนาจในทางที่ชอบ เพื่อประโยชน์แก่ประเทศชาติ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล ในการควบคุมบริหารงานของภาครัฐผ่าน 4 หลักการ 8 หลักการย่อย ต่อการแก้ไขปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งเป็นสภาวะความขาดแคลนไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ในระดับบุคคล ส่งผลให้เกิดความทุกข์ในการดำเนินชีวิต ขาดปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต รวมถึงการขาดโอกาสที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตในหลายๆ ด้าน และส่งผลต่อการพัฒนาในระดับประเทศตามมา ซึ่งความยากจนจะนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ ความเป็นอยู่ ความไม่เสมอภาคระหว่างกลุ่มต่างๆ ในสังคม จนเกิดปัญหาสังคมตามมา โดยสาเหตุของความยากจนมีหลายปัจจัยทั้งปัจจัยภายในและภายนอก เช่น การขาดโอกาสทางการศึกษา ความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจ ความขาดแคลนปัจจัยพื้นฐาน ถูกการกดขี่ด้านราคา กฎหมายมีความไม่เท่าเทียมกัน รวมถึงการยึดติดในระบบอุปถัมภ์ ดังนั้น ภาครัฐ จึงได้ใช้ระบบ TPMAP ในการระบุปัญหาความยากจนในระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน ท้องถิ่น/ ท้องที่ จังหวัด ประเทศ หรือปัญหาความยากจนรายประเด็น ซึ่งทำให้การแก้ปัญหาตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น โดยใช้ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) จากกรมการพัฒนาชุมชน และข้อมูลผู้ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐจากกระทรวงการคลัง มายืนยันซึ่งกันและกัน แสดงความยากจนใน 5 มิติ ได้แก่ ด้านการศึกษา ด้านสุขภาพ ด้านความเป็นอยู่ ด้านการเข้าถึงบริการภาครัฐ และด้านการเงิน ผ่านกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาความยากจนเกิดการเหลื่อมล้ำทางสังคม 3 คือ (1) กลยุทธ์นโยบายแบบประหาร เป็นการแก้ไขปัญหาความยากจนในกลุ่มคนที่ประสบปัญหาจริง ๆ ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ (2)กลยุทธ์นโยบายแบบบรรเทา เป็นการแก้ไขปัญหาความยากจนในกลุ่มคนที่ประสบปัญหาในช่วงภาวะใดภาวะหนึ่ง และ(3)กลยุทธ์นโยบายแบบป้องกัน เป็นการแก้ไขปัญหาความยากจนในกลุ่มคนทั่วๆ ไป เพื่อป้องกันปัญหาความยากจนต่อไป
Article Details
References
กัลยรัตน์ กล่าถนอม. การพัฒนาศักยภาพคนจนเมืองในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2547-2557).วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2547.
กรมการพัฒนาชุมชน. แผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ.2560-2564. กองแผนงาน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย, 2560.
ชาติชาย นรเศรษฐาภรณ์. ธรรมาภิบาลในความหมายภาครัฐ เอกชน และประชาชน : กรณีโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนถ่านหิน"หินกรูด". จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/กรุงเทพมหานคร, 2545.
วิทยากร เชียงกูล. พัฒนาการแบบยั่งยืนกับการแก้ปัญหาคนจน. กรุงเทพมหาคร อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จากัด (มหาชน), 2547.
เสรีพงศ์พิศ. คู่มือการทาวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพมหานคร เจริญวิทยการพิมพ์, 2552.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. การจ้างแรงงานต่างด้าวกับความมั่นคงของมนุษย์. เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการประจาปี 2556. กรุงเทพมหานคร : โรงแรมแอมบาสเดอร์ซิตี้จอมเทียนชลบุรี, 2561.
สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจน และความเหลื่อมล้าในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 จากเว็บไซต์ https://www.nesdc.go.th.
สานักงานสถิติแห่งชาติกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สารวจการทางานของประชากรทั่ว. 2563.
ราชอาณาจักร. http://www.nso.go.th. ค้นหาวันที่ 17 มกราคม 2563.
Cunguara, B., Assessing Strategies to Reduce Poverty in Rural Mozambique. Doctoral, 2011.
Thesis. University of Natural. Resources and Life Sciences, Vienna Dye, Thomas R. Understanding Public Policy. New Jersey:Pearson Education, Chapter 5, 2005.
Poverty and Welfare. The search for a rational strategy, Ellis, Rural Livelihood Diversity in Developing Countries: Analysis, Method. Policy, 2009, pp.107-139.
Oxford University Press. Office of the National Economic and Social Development Board. The Twelfth, 2016.
National Economic and Social Development Plan [In Thai]. Retrieved January 17, 2017 from http://www.ratchakitcha.soc.go.th/, 2017-2021.