เศรษฐศาสตร์การเมืองของการปกครองท้องถิ่นในประเทศเมียนมา

Main Article Content

โอฬาร ถิ่นบางเตียว

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงพัฒนาการของระบบการปกครองท้องถิ่น รูปแบบโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของการปกครองท้องถิ่นในประเทศเมียนมา และการวิเคราะห์เศรษฐกิจการเมืองท้องถิ่นกับการเปลี่ยนแปลงของการปกครองท้องถิ่นในประเทศเมียนมา ผลการศึกษาวิจัยนี้ พบว่า พัฒนาการของระบบการปกครองท้องถิ่นของประเทศเมียนมา สามารถแบ่งออกเป็น 5 ช่วงเวลา ได้แก่ พัฒนาการระบบการปกครองท้องถิ่นของประเทศเมียนมาในยุคก่อนอาณานิคม (the Pre-colonial Period) ยุคอาณานิคม (The Colonial Era) ยุคหลังประกาศเอกราชและรัฐบาลพลเรือน (Independence and the Civilian Government) ยุครัฐบาลทหาร (The Military Coup Period) และยุคหลังรัฐธรรมนูญปี ค.ศ. 2008 หรือยุครัฐบาลปัจจุบัน ซึ่งพัฒนาการของระบบการปกครองท้องถิ่นของประเทศเมียนมาในแต่ละช่วงเวลา มีความเชื่อมโยงอยู่กับพลวัตการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจการเมืองร่วมอยู่ด้วย ดังจะเห็นได้จากรูปแบบโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของการปกครองในระดับท้องถิ่นในปัจจุบันที่มาจากเงื่อนไขทางด้านเศรษฐกิจการเมืองที่สืบเนื่องมาจากอดีต โดยเฉพาะบทบาทของกองทัพกับความพยายามในการกำกับควบคุมผู้คน และชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ในระดับท้องถิ่น ทำให้อำนาจหน้าที่ของการปกครองท้องถิ่นในประเทศเมียนมา รวมถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับท้องถิ่นมีอยู่อย่างจำกัด


ข้อจำกัดทางด้านอำนาจหน้าที่ของการปกครองท้องถิ่นภายในโครงสร้างการปกครองของประเทศเมียนมา รวมถึงการขาดการสร้างกระบวนในการมีส่วนร่วมของประชาชนในเรื่องต่าง ๆ ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมามากมาย โดยเฉพาะปัญหาของการรวมศูนย์อำนาจ (centralized) การตัดสินใจเชิงนโยบายหรือการดำเนินการโครงการต่าง ๆ ไว้ที่รัฐบาลกลาง การปฏิรูปเศรษฐกิจที่ขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชนและไม่สามารถกระจายผลประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง หรือปัญหาทั้งทางด้านเศรษฐกิจการเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ และชนกลุ่มน้อยที่สะท้อนผ่านความรุนแรง ที่ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาที่ดำรงอยู่ในสังคมเมียนมาอยู่ถึงปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. พม่า: ประวัติศาสตร์และการเมือง. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโครงการตาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 2552.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. รายงานการวิจัยเรื่อง การเมืองในระดับท้องถิ่นกับการพัฒนาการเมืองใน ระบอบประชาธิปไตย: ศึกษาเปรียบเทียบการเมืองท้องถิ่นของสองนครในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2542.

พณิตา ไชยศร. ระบบการปกครองท้องถิ่น ประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน: สาธารณรัฐแห่ง สหภาพพม่า. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า. 2556.

พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์. การศึกษาวิจัยเปรียบเทียบระบบการเมืองการปกครอง การเลือกตั้ง พรรคการเมือง และองค์กรจัดการเลือกตั้ง ของกลุ่มประเทศอาเซียน. วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558. หน้า 45 (2).

วีระ หวังสัจจะโชค และกัมปนาท เบ็ญจนาวี. การมีส่วนร่วมในยุทธศาสตร์ชาติกับการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ: ถอดบทเรียนประเทศโคลัมเบีย และมอลโดวากับการจัดทายุทธศาสตร์ชาติของไทย. ใน การประชุมวิชาการ สถาบันพระปกเกล้า ครั้ง 19 ประจาปี 2560.

ศูนย์พัฒนาการค้าและธุรกิจไทย ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สานักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง สหภาพเมียนมา. (ม.ป.ป.). ข้อมูลพื้นฐาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา. วันที่ค้นข้อมูล 9 พฤษภาคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.ditp.go.th/ contents_attach/141175/141175.pdf.

แสงระวี สวัสดิบุตร. ปัญหาที่เกิดจากการแบ่งแยกอานาจหน้าที่ในการจัดทาบริการสาธารณะระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการกาหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานิติศาสตร์, คณะนิติศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2551.

อรทัย ก๊กผล. ความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ส่วนรวม: กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า. 2546.

โอฬาร ถิ่นบางเตียว และคณะ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ กลไกและกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองตนเองของท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออก. กรุงเทพมหานคร: สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. 2557.

โอฬาร ถิ่นบางเตียว. การเมืองท้องถิ่นไทย. ชลบุรี: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2560.

BBC. Myanmar country profile. Retrieved July 10, 2018, from https:// www.bbc.com/news/world-asia-pacific-12990563, 2018, 12 April.

Egreteau, R. Parliamentary Development in Myanmar: An Overview of the Union Parliament 2011– 2016. Yangon: Asia Foundation, 2017.

Human Rights Watch. Myanmar Events of 2018. Retrieved July 20, 2019, from https://www.hrw.org/world-report/2019/country-chapters/burma, 2019.

Phillips, E. M. & Pugh, D. S. How to do research. In How to get a PhD: A handbook for students and their supervisors. (pp. 61-70). Berkshire: Open University Press.Publications, Inc, 2005.

Stokke, K. & Vakulchuk, R. and Overland, I. Myanmar: A Political Economy Analysis. Oslo: Norwegian Institute of International Affairs, 2018.

Trading Economics.Myanmar GDP: 1998-2018. Retrieved July 10, 2018, from https://tradingeconomics.com/myanmar/gdp, 2018.

Wilson, T. Myanmar Political Reform: A Slow But Steady Transfor-mation. Retrieved July 10, 2018, from http://www.internationalaffairs.org.au/ australianoutlook/myanmars-political-reform-slow/, 2017, 19 June.

Yin, R. K. Case Study Research: Design andMethods (3rd ed.). Thousand Oaks, CA : Sage, 2003.