รูปแบบการจัดทำบัญชีครัวเรือนของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ ในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

บุปผา คำนวน

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจการจัดทาบัญชีครัวเรือนของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ในอาเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอนเพื่อหาแนวทางการสร้างรูปแบบของการจัดทาบัญชีครัวเรือนของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ในอาเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอนและเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดทาบัญชีครัวเรือนของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ในอาเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือครัวเรือนของชุมชนบ้านทุ่งกองมูจานวน45ครัวเรือนนาข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์เชิงคุณภาพและรายงานผลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติเชิงพรรณนาด้วย ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
              ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการจัดทำบัญชีครัวเรือนของชุมชนทุ่งกองมูเป็นสมุดบัญชีตามรูปแบบแบบฟอร์มที่ใช้บันทึกบัญชีอย่างง่ายที่ออกแบบด้วยตัวเองส่วนใหญ่ไม่ได้บันทึกบัญชีครัวเรือนเพราะชุมชนขาดความเข้าใจในการทำบัญชีครัวเรือน
               ผลการพัฒนารูปแบบการจัดทาบัญชีครัวเรือนพบว่าชุมชนทุ่งกองมูสนใจการบันทึกบัญชีครัวเรือนตามรูปแบบสมุดบัญชีของนักวิจัย โดยมีการจัดพิมพ์ชื่อบัญชีรายรับและรายจ่ายมาให้ล่วงหน้าแล้วผู้บันทึกบัญชีเพียงแต่ใส่จำนวนเงินที่รับและจ่ายเท่านั้น ทำให้สะดวกมากยิ่งขึ้น ชุมชนจึงได้นำความรู้ที่มีอยู่เดิมมาปรับปรุงการบันทึกบัญชีโดยใช้รูปแบบสมุดบัญชีของนักวิจัย ทำให้ชุมชนรู้รายรับ รายจ่ายในครัวเรือน แล้วสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จาเป็นลงได้ รวมทั้งทำให้ชุมชนได้เล็งเห็นถึงความสาคัญในการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ยุพา สะรุโณ. “ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดทาบัญชีครัวเรือนกรณีศึกษาหมู่บ้านทุ่งน้อย ตาบลหินกอง อาเภอเมือง จังหวัดราชบุรี”. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (ตุลาคม 2557 – มีนาคม 2558)
วาริพิณ มงคลสมัย. “งานวิจัยเรื่องการจัดการความรู้ทางบัญชีตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง”.เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่,2552.
ศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอน. ข้อมูลจังหวัด ข้อมูลพื้นฐาน ลักษณะทางสังคม. [ออนไลน์].แหล่งที่มา:http://www.maehongson.go.th/th/province-info/general-info/societal-characteristics.html [16 มีนาคม2562].
สมัย เชิงหอม. “การพัฒนาการจัดทาบัญชีครัวเรือน เพื่อการพึ่งพาตนเองของประชาชนหมู่บ้านแย้ตาบลพันนา อาเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร”. ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2554.
สุภัทรษรทวีจันทร. “การบูรณาการบัญชีครัวเรือนเพื่อเสริมสร้างภูมิปัญญาทางบัญชีตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาชุมชนบ้านกลางตาบลขะยูงอาเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ”,วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. ปีที่ 10 ฉบับที่ 48 (พฤษภาคม-มิถุนายน 2556), หน้า 7-15.
สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ประมวลคาในพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ตั้งแต่พุทธศักราช 2493-2549 ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. 2550.