นวัตกรรมสังคมรากหญ้ากับการพัฒนาท้องถิ่นชุมชนภาคตะวันออก

Main Article Content

พลอยพิณญา หาญหฤทัยวัลก์
ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์
ชัยณรงค์ เครือนวน

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบนวัตกรรมสังคมรากหญ้า ในชุมชนท้องถิ่นตะวันออก ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรรมเหล่านั้น ตลอดจนศึกษาความสัมพันธ์ของนวัตกรรมสังคมจากรากหญ้ากับการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ซึ่งชุมชนท้องถิ่นที่ใช้เป็นตัวแทนของชุมชนภาคตะวันออกที่ผู้วิจัยศึกษานั้นประกอบไปด้วยชุมชนวนเกษตรพวา ชุมชนเครือข่ายสัจจะสะสมทรัพย์ จ.ตราด ชุมชนริมน้าจันทบูรและชุมชนพลอยจันทบุรี ทั้ง 4 ชุมชนนี้ถือเป็นตัวแทนของนวัตกรรมแนวคิดใหม่เพื่อการพัฒนานวัตกรรมทางด้านการจัดการบริหารองค์กร นวัตกรรมทางด้านผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมกระบวนการผลิตและแปรรูปตามลาดับ ผู้วิจัยได้อาศัยแนวคิดด้านนวัตกรรมรากหญ้าและเครือข่ายชุมชนเป็นแนวคิดหลักในการศึกษาวิจัย ทางผู้วิจัยทาการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ และศึกษางานวิจัยเพิ่มเติม รวมถึงวิเคราะห์ในเชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง ซึ่งประกอบไปด้วยแนวคิด GI/ Murphy/ George C.Homans เป็นกรอบในการศึกษา ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบของนวัตกรรมรากหญ้าในเครือข่ายชุมชนภาคตะวันออกมีรูปแบบความสอดคล้องกับเชื่อมโยงกันระหว่างนวัตกรรม และ บทบาทของสังคมในแต่ละสังคมอย่างเห็นได้ชัดและแตกต่างกัน นวัตกรรมดังกล่าวกลมกลืนเข้ากับวิถีชีวิตของคนในแต่ละชุมชนทั้งด้านการดารงชีพและการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ รูปแบบของนวัตกรรมเหล่านี้ยังช่วยส่งผลให้เกิดส่งผลให้เกิดความยั่งยืนในชีวิตของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี โดยเห็นได้ชัดจากทั้งชุมชนวนเกษตรพวา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการอยู่ร่วมกันกับสัตว์อย่างช้างป่าได้อย่างยั่งยืนผ่านนวัตกรรมวนเกษตร และชุมชนสัจจะสะสมทรัพย์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องของการดารงชีพและการตั้งมั่นในคุณธรรมที่ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนเป็นไปได้อย่างราบรื่นและส่งผลต่อความเจริญของชุมชน อย่างไรก็ตาม นวัตกรรมรากหญ้าไม่เพียงแต่เป็น สิ่งที่ต้องได้รับการผลักดันจากคนในชุมชนเท่านั้น แต่ยังต้องได้รับการสนับสนุนและช่วยเหลือจากรัฐบาลต่อไปเพื่อก่อให้เกิดความก้าวหน้าและยั่งยืน รัฐบาลจึงจาเป็นต้องเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมให้นวัตกรรมเหล่านี้ โดยเฉพาะผู้ประกอบการด้านการทาเสื่อจันทบูรและพลอยจันทบุรีสามารถดารงอยู่ต่อไปได้ในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎา ขจรกลิ่น. ชนชาติพันธุ์กูยกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในเขตตาบลพวา อาเภอแก่งหางแมวจังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2558
กฤษณพงศ์ กีรติกร. หนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม ที่เมรุวัดห้วยหิน อาเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา. สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มูลนิธิวนเกษตร ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (วันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน 2560).
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์. การวิจัยชุมชนชีวิตทางเศรษฐกิจและการปรับตัวของชุมชนวัดโรมันคาทอลิก. รายงานการวิจัยชุมชน, 2552
ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์. เอกสารการบรรยายแนวคิดนวัตกรรมรากหญ้า. มหาวิทยาลัยรังสิต, 2017
พระชัยวัฒน์ อคฺคธมฺโม. ความมั่นคงในชีวิตของสมาชิกกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ฯ ตาบลสีพยา อาเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราไพพรรณี, 2555
ภูริณัฐร์ โชติวรรณ. การทอเสื่อกกกับ “ทุน” ของชุมชนบางสระเก้าในจังหวัดจันทบุรี. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร สักทอง วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2559