ภาพตัวแทนการตอบสนองของชาวชนบทต่อวาทกรรมการพัฒนาการศึกษา เพื่อสร้างความทันสมัยที่นาเสนอในเพลงลูกทุ่ง

Main Article Content

วิภาวี ฝ้ายเทศ
สิริวรรณ นันทจันทูล

บทคัดย่อ

               บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพตัวแทนการตอบสนองของชาวชนบทต่อวาทกรรมการพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความทันสมัยที่นำเสนอในเพลงลูกทุ่ง โดยศึกษาจากเพลงลูกทุ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2507 จนถึง 2562 จำนวน 156 เพลง ที่เจาะจงเลือกมาเป็นกลุ่มตัวอย่างเพราะมีเนื้อเพลงสื่อถึงประเด็นความคิดด้านการศึกษาในสังคมไทย และเป็นเพลงที่รวบรวมได้จากเว็บไซต์สาระบันเทิงยอดนิยมต่าง ๆ และเอกสารเกี่ยวกับเพลงลูกทุ่ง การวิจัยนี้ใช้กรอบแนวคิด เรื่อง การนำเสนอสัญลักษณ์ภาพตัวแทนตามทัศนะของ แฟร์คลัฟ (Fairclough) ซึ่งมองว่าวาทกรรมเป็นเหตุให้เกิดการเลือกนำเสนอโครงสร้าง และรูปแบบการจัดโครงสร้างทางภาษาตามทัศนคติ คุณค่า อุดมการณ์ อารมณ์ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อโลก
                ผลการวิจัยพบว่า ภาพตัวแทนส่วนใหญ่เป็นการยอมรับวาทกรรมการพัฒนาการศึกษาฯ เนื้อเพลงลูกทุ่งนำเสนอภาพตัวแทนที่ยอมรับวาทกรรมการพัฒนาการศึกษาฯ สรุปได้เป็น 7 ชุดความคิด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ระดับการศึกษาเป็นเกณฑ์กำหนดระดับทางสังคม 2) การเข้าศึกษาในระบบทำให้มีความสุขจากการได้พบรัก 3) การเรียนต่อในระดับสูงขึ้นยิ่งมีอนาคตที่ดีขึ้น 4) การใช้อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ด้านการศึกษามาเทียบเคียงการเรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิต 5) การไปศึกษาเล่าเรียนในเมืองหลวงหรือเขตเมืองเป็นการลงทุนที่ไม่สูญเปล่า 6) มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นเป้าหมายในอุดมคติของชาวชนบท และ 7) การศึกษาทำให้ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตและมีโอกาสอยู่ในเมืองหลวงที่ทันสมัย ในขณะเดียวกันก็พบว่ามีภาพตัวแทนที่ต้านวาทกรรมการพัฒนาการศึกษาฯ อยู่ 7 ชุดความคิด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) การไปเรียนแล้วเสียคนหรือเอาดีไม่ได้ 2) สถานะของครูในสังคมชนบทไม่ดี 3) คุณภาพการศึกษาในชนบทยังไม่ได้มาตรฐาน และขาดประสิทธิภาพ 4) การวิพากษ์ปริญญาหรือความเป็นบัณฑิตว่าไม่มีคุณค่าหรือไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เท่าการเรียนรู้ในชีวิตจริง 5) การเข้ารับการศึกษาต้องแลกกับความยากลำบากของครอบครัว 6) เกณฑ์ด้านระดับศึกษาสร้างปัญหาให้กับชาวชนบทในการหางานทำและขาดโอกาสก้าวหน้าในสายงาน และ 7) บัณฑิตบางคนไม่มีคุณธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินตนา ดำรงค์เลิศ. วรรณกรรมเพลงลูกทุ่ง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2533
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. วาทกรรมการพัฒนา: อานาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์และความเป็นอื่น พิมพ์ครั้งที่ 6. 2560
ประเวศ วะสี. การพัฒนาต้องเอาวัฒนธรรมเป็นตัวตั้ง. กรุงเทพมหานคร หมอชาวบ้าน, 2547
ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์. “ปฏิบัติการทางวาทกรรมในวัฒนธรรมสมัยนิยมผ่านเพลงลูกทุ่งไทย”. กระแสวัฒนธรรม 19. ฉบับที่ 36 (กรกฎาคม ธันวาคม 2561), หน้า 79.
พัชรินทร์ สิรสุนทร. แนวคิด ทฤษฎี เทคนิค และการประยุกต์เพื่อการพัฒนาสังคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
เมลดา สุดาจิตรอาภา. ภาษาศาสตร์ประยุกต์: สหวิทยาการเพื่อการแก้ปัญหาด้านภาษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561
ราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมศัพท์มานุษยวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2561
วิทย์ วิศทเวทย์. ปรัชญาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช, 2527; 110, อ้างถึงใน วิไล ตั้งจิตสมคิด, การศึกษาไทย, กรุงเทพมหานคร โอเดียนสโตร์, 2539
ศิริพร ภักดีผาสุก. ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอัตลักษณ์และแนวทางการนามาศึกษาภาษาไทย กรุงเทพมหานคร: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
สามชาย ศรีสันต์. การศึกษาการพัฒนาในฐานะที่เป็นวาทกรรม, หน้า 11. จากเว็ปไซต์ https://www.academia.edu/8914584. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2563
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ จำกัด, 2532
Muthukumaraswamy. M.D., Folklore as discourse, 2006, p. 55, https://books.google.com. (accessed April 15, 2020).