รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในลุ่มน้าเจ้าพระยาตอนกลาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในลุ่มน้าเจ้าพระยาตอนกลาง โดยใช้การวิจัยเชิงปราณ และมีหน่วยวิเคราะห์เป็นระดับองค์การ คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดสิงห์บุรี โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จานวน 200 ตัวอย่าง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ 5 จังหวัด ที่ ระดับความเชื่อมั่น 95 % โดยแบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในแต่ละจังหวัด ดังนี้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จานวน 80 องค์การ จังหวัดปทุมธานี จานวน 40 องค์การ จังหวัดนนทบุรีจานวน 40 องค์การ จังหวัดอ่างทองจานวน 40 องค์การ และ จังหวัด สิงห์บุรีจานวน 40 องค์การ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการการท่องเที่ยวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาตอนกลาง ใน 7 ประเด็น คือ ปัจจัยด้านลักษณะบุคคล ปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านโครงสร้างการบริหาร ปัจจัยด้านทรัพยากร ปัจจัยด้านความเป็นเจ้าภาพ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม และปัจจัยด้านการจัดการภาครัฐประกอบด้วย ด้านการนาองค์กร การวางแผนกลยุทธ์การเน้นลูกค้าและการตลาด การวิเคราะห์ข้อมูลและการจัดการความรู้ การเน้นบุคลากร และด้านการเน้นปฏิบัติ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงของปัจจัยดังกล่าวข้างต้นเพื่อนาไปสู่การกาหนดรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในลุ่มน้าเจ้าพระยาตอนกลางต่อไป
จากผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในลุ่มน้าเจ้าพระยาตอนกลางนั้นมีปัจจัยด้านต่างสัมพันธ์และส่งผลเชื่อมโยงต่อกันดังนี้ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมส่งผลต่อการจัดการภาครัฐด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและการจัดการความรู้ ปัจจัยด้านบุคคลส่งผลต่อการจัดการภาครัฐด้านการนาองค์กร การเน้นลูกค้าและการตลาด การวิเคราะห์ข้อมูลและการจัดการความรู้ การเน้นบุคลากร และด้านการเน้นปฏิบัติ ปัจจัยด้านโครงสร้างการบริหารส่งผลต่อการจัดการภาครัฐด้านการเน้นบุคลากรที่ ปัจจัยด้านทรัพยากรส่งผลต่อการจัดการภาครัฐด้านการนาองค์กร การวางแผนกลยุทธ์ การเน้นลูกค้าและการตลาด การวิเคราะห์ข้อมูลและการจัดการความรู้ การเน้นบุคลากร และด้านการเน้นปฏิบัติ ปัจจัยด้านความเป็นเจ้าภาพส่งผลต่อการจัดการภาครัฐด้านการวางแผนกลยุทธ์และด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและการจัดการความรู้ และปัจจัยด้านลักษณะบุคคลส่งผลต่อการจัดการภาครัฐด้านการนาองค์กร การวางแผนกลยุทธ์และการเน้นบุคลากร ที่ระดับนัยสาคัญ 0.05 ดังนั้นจากรูปแบบและความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ชี้ให้เห็นว่าในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในลุ่มน้าเจ้าพระยาตอนกลางควรคานึงถึงปัจจัยด้านต่างๆดังกล่าวข้างต้นในการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวตามบริบทของขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในลุ่มน้าเจ้าพระยาตอนกลางต่อไป
Article Details
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. เเผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติฉบับ ที่2 (พ.ศ.2560 2564). กรุงเทพมหานคร สานักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2560
โกวิทย์ พวงงาม. การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร บริษัทสานักพิมพ์วิญญูชน จากัด, 2550.
Joseph F. Hair. Jr., Tomas M., Hult Michigan. East LansingChristian Ringle., & GermanyMarko Sarstedt. (2014). A Primer on Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM). USA: Sage
Juan Plabo, Juan Ignacio. Pulido-Fernández, and Marcelino Sánchez-Rivero. (2013). Does Tourism Growth Influence Economic Development?. Journal of Travel Research, 54(2), 206-221.
Lahav, Tamar, Mansfeld, Yoel and Avraham. Eli. (2013), Factors Inducing National Media Coverage for Tourism in Rural versus Urban Areas: The Role of Public Relations. . Journal of Travel and Tourism Marketing, 30(4), 291-307