ครู – ศิษย์: ความสัมพันธ์แบบอำนาจนิยมความมืดบอด ของการถ่ายทอดองค์ความรู้
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้นาเสนอถึงครู – ศิษย์: ความสัมพันธ์แบบอำนาจนิยมความมืดบอดของการถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยมุ่งประเด็นตั้งคาถามถึงความสัมพันธ์แบบอานาจนิยมที่อยู่ในสถาบันการศึกษาผ่านความสัมพันธ์ของผู้เรียนและผู้สอน ซึ่งนัยยะการตีความหมายดังกล่าวมีกระบวนการทาให้เกิดขึ้นและคงอยู่ ผ่านมายาคติ วาทกรรม พิธีกรรม มากมาย ที่เบื้องหน้า และ เบื้องหลัง หากมองผิวเผินความสัมพันธ์นั้นอาจเป็นความสัมพันธ์อันบริสุทธิ์ แต่หากตีความหมายอย่างลึกซึ้งจะพบว่าสถาบันการศึกษาของไทย ได้ผลิตซ้าอุดมการณ์ทางการเมืองบางอย่างจากรัฐสู่ประชาชนได้อย่างแนบเนียน ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนในระบบการศึกษาโดยตรง ความสัมพันธ์ของครูกับศิษย์มีการจัดวางอานาจสูง ต่า ในลักษณะที่ครูเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และ ได้รับสิทธิพิเศษบางอย่างเหนือนักเรียน ทั้งในด้านที่เป็นรูปธรรมและพิธีกรรม ฉะนั้นแล้วครูจึงมีอานาจในการบังคับหรือชี้แนวทางให้ศิษย์ปฏิบัติตามได้อย่างชอบธรรม โดยเป็นการยากที่ศิษย์จะตั้งคาถามกับคาสั่งสอนหรือพฤติกรรมของครู ความสัมพันธ์เชิงอานาจในลักษณะนี้ถูกผลิตซ้าผ่านกลไกทางวัฒนธรรมและกลไกทางการเมืองอย่างแยบคาย
ทั้งนี้ บทความฉบับนี้ได้นาแนวคิดการครองความเป็นเจ้า (Hegemony) ของ Antonio Gramsci มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ โดยมุ่งอธิบายสร้างข้อขบคิดทางสังคมอันได้แก่ ประเด็นดังต่อไปนี้ 1. ความมืดบอดของการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านทฤษฎีมาร์กซิสม์แนวมนุษย์นิยมของอันโตนิโย กรัมชี (Antonio Gramsci) 2. มองอานาจนิยมในสถาบันการศึกษาไทยผ่านจุดยืนของกรัมชีบนความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างกับความเป็นปัจเจกชน 3. การครองความเป็นเจ้า (Hegemony) กลไกของอานาจนิยมในความสัมพันธ์ครูศิษย์ของการถ่ายทอดองค์ความรู้
Article Details
References
เกษียร เตชะพีระ. มาร์กซ: ความรู้ฉบับพกพา. กรุงเทพมหานคร: open worlds, 2558
คุณากร กรสิงห์ และณัฐชัย นิ่มนวล. การเสริมสร้างกระบวนการพัฒนาจิตสานึกทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมแก่เยาวชนระดับอุดมศึกษาในเขตจังหวัดนครสวรรค์. ค้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2563 , จาก http://ns.nsru.ac.th/handle/nsru/352, 2558
ณัฐพล ใจจริง. ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2556
นฤพล สถาพร, ธีรัตม์ แสงแก้ว และธเนศ ปานหัวไผ่. การศึกษาวิเคราะห์การอ้างเหตุผลกรณีสร้างความหมายเรื่องกาเนิดประชาธิปไตยไทย. วารสารมนุษย์ศาสตร์, 2560. 24(2) หน้า 243 259.
ประจักษ์ ก้องกีรติ. “อานาจนิยม” และความรุนแรงในการศึกษาไทย. 2559. ค้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2563, จาก https://elsiam.org/interview-prajak-authoritarianism/
ประจักษ์ ก้องกีรติ. “อานาจนิยม” และความรุนแรงในการศึกษาไทย. ค้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2563 , จาก https://elsiam.org/interview-prajak-authoritarianism/, 2559
วรุตม์ อินทฤทธิ์. สังคมศึกษาและการศึกษาการสร้างความเป็นพลเมืองดีภายใต้ระบอบการเมืองการปกครองไทย. วารสารหาดใหญ่วิชาการ. 2562, 17(1) หน้า 85 101.
วัชรพล พุทธรักษา. บทสารวจความคิดทางการเมืองของ อันโตนิโอ กรัมซี่. กรุงเทพมหานคร: สมมติ, 2557
สมเกียรติ วันทะนะ. อุดมการณ์ทางการเมืองร่วมสมัย, กรุงเทพมหานคร: เอส.พี.วี. การพิมพ์, 2551
สุรชาติ บารุงสุข. ระบอบอานาจนิยม! กาเนิดและการคงอยู่. 2562. ค้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2563. จากhttps://www.matichonweekly.com/column/article_179533
อติพร สุขสมนิตย์. อิทธิพลของลัทธิชาตินิยมที่มีต่อหลักสูตรและการเรียนการสอน วิชาดนตรี
นาฏศิลป์ ในระดับประถมศึกษา สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม. ม.ป.ป. ค้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2563. จาก https://madlab.cpe.ku.ac.th/forest/อติพร_สุขสมนิตย์
Edmund E. Jacobitti. "Hegemony before Gramsci: The Case of Benedetto Croce,", 1980, ค้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2563, จาก https://www.journals.uchicago.edu/doi/pdfplus/10.1086/242048
T. J. Jackson Lears. The Concept of Cultural Hegemony: Problems and Possibilities. 2016. ค้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2563. จาก file:///C:/Users/USER/Downloads/Documents/542fad78685c86c6851dc9c94aefca890e7d.pdf