เครือข่ายอำนาจและการสะสมทุนในจังหวัดชัยนาท: วิเคราะห์ในเชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง

Main Article Content

เดชา บุญอินทร์
โอฬาร ถิ่นบางเตียว
ชัยณรงค์ เครือนวล

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพแนวประวัติศาสตร์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. การสร้างเครือข่ายอานาจของกลุ่มตระกูลนาคาศัยในจังหวัดชัยนาท 2. กระบวนการสะสมทุนของกลุ่มตระกูลนาคาศัยตั้งแต่อดีตและปัจจุบันและ 3. กระบวนการสืบทอดอานาจของกลุ่มตระกูลนาคาศัยโดยอาศัยแนวคิดเครือข่ายอานาจท้องถิ่นและการสะสมทุนเบื้องต้นเป็นแนวคิดหลักด้วยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์การสังเกตการณ์และศึกษาเอกสารภายใต้การวิเคราะห์ในเชิงเศรษฐศาสตร์การเมืองทั้งนี้ใช้แนวคิดของมานูเอลคาสเทลล์/ เดวิดโนก/ ไมเคิลแมนน์/ คาร์ลมาร์กซ์และเดวิดฮาร์วีย์เป็นกรอบในการศึกษา พบว่า การสร้างเครือข่ายอานาจในจังหวัดชัยนาท มีการพัฒนามาจากเครือข่ายอานาจท้องถิ่นแบบไม่มีขั้วอานาจชัดเจนมาเป็นเครือข่ายอานาจผูกขาดจากเครือข่ายอานาจเชิบารมีของ “ตระกูลนาคาศัย” ภายใต้การนาของนายอนุชาในการก่อรูปเครือข่ายอานาจผูกขาดขั้วเดียวของตระกูลนาคาศัยมีรากฐานมาจากการสะสมทุนเบื้องต้นการทาธุรกิจส่วนตัวที่เด่นชัดเช่นธุรกิจสถานบันเทิงสโมสรฟุตบอลเป็นต้นในกระบวนการสะสมทุนดังกล่าวนั้นได้มีการสร้างเครือข่ายอานาจทั้งหกเครือข่ายที่ตกผลึกบนสายสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์กับเครือข่ายนักการเมืองระดับชาติข้าราชการนักการเมืองท้องถิ่นกานันผู้ใหญ่บ้าน และเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรรวมถึงการสร้างเครือข่ายกับประชาชนในพื้นที่ในส่วนการสะสมทุนของตระกูลนาคาศัย พบว่า กลุ่มตระกูลนาคาศัยภายใต้การนาของนายอนุชาสามารถรวมศูนย์อานาจทางการเมืองได้แล้วก็ขยายธุรกิจของตระกูลให้กว้างขวางขึ้นโดยเฉพาะสโมสรฟุตบอลและการสะสมทุนทางสังคมหลังจากการเปลี่ยนเครือข่ายอานาจซึ่งพรรคไทยรักไทยเข้ามามีบทบาททางการเมืองภายหลังจากนายอนุชาถูกเว้นวรรคทางการเมือง 5 ปีเป็นเหตุให้เครือข่ายอานาจของนายอนุชาได้รับการท้าทายจากคู่แข่งทางกลุ่มนักการเมืองทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่าแต่ภายใต้การนาของภรรยาก็สามารถยึดพื้นที่ทางการเมืองไว้ได้ตระกูลนาคาศัยก็พยายามปรับตัวเพื่อสืบทอดอานาจผูกขาดโดยการหันมาทางานการเมืองระดับท้องถิ่นในมิติเชิงรักษามรดกวัฒนธรรมและประเพณีเพื่อสร้างฐานเสียงในการเลือกตั้งอย่างไรก็ดีการปรับกลไกทางการเมืองผ่านสโมสรฟุตบอลผลจากการปรับกลไกต่างๆ ทาให้กลุ่มตระกูลนาคาศัยสามารถสืบทอดเครือข่ายอานาจผูกขาดมาจนถึงปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลลดา เกษบุญชู มี้ด. ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สวนเงินมีนา, 2555
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์และชัยณรงค์ เครือนวน. โครงสร้างอานาจท้องถิ่นระดับตาบลในเขตภาคตะวันออกและจังหวัดปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาพื้นที่ในสามตาบล. วารสารการเมืองการบริหารและกฎหมาย. ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎราไพพรรณี, 2555.
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์และชัยณรงค์ เครือนวน. โครงสร้างอานาจและการสะสมทุนในจังหวัดชลบุรี. งานวิจัยภายใต้โครงการ “สู่สังคมไทยเสมอหน้า การศึกษาโครงสร้างความมั่งคงและโครงสร้างอานาจเพื่อการปฎิรูป”. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎราไพพรรณี, 2552
ชัยวัฒน์ ทรัพย์รวงทอง. นักการเมืองถิ่นจังหวัดชัยนาท. สถาบันพระปกเกล้า เอกสารวิชาการส่วนบุคคล, 2551
ณัชชานุช พิชิตนารัตน์. แนวคิดวิเคราะห์โครงสร้างอานาจท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ การเมือง บูรพา. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2, 2554
ระดม วงษ์น้อม. แนวความคิดเรื่องชนชั้นและการศึกษาโครงสร้างอานาจชุมชน. วารสารรัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2, 2526
Castells, M.. ‘Network Theory/ A Network Theory of Power. International Journal of Communication. Vol 5: 773-787, 2011
Castells, M.. The Rise of the Network Society. Oxford: Basil Blackwell Publisher, 1996
David K.. Power Structure of Policy Networks. UK: Oxford University, 2017
Mann, M.. The Sources of Social Power, Cambridge University Press, Volume 2. The rise of classes and nation-states, 1986, pp. 1760-1914.
Marx, K. and Friedrich Engels.. Das Kapital – Capital: Critique of Political Economy, Volume 1. Translated by Samuel Moore, California: CreateSpace Independent Publishing Platform, 2012