การศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์อุปปาตะสันติ

Main Article Content

สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์

บทคัดย่อ

               การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและเนื้อหาของคัมภีร์อุปปาตะ
สันติ 2. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ลักษณะการประพันธ์และคุณค่าของคัมภีร์อุปปาตะสันติ 3. เพื่อศึกษาวิเคราะห์
อิทธิพลของคัมภีร์อุปปาตะสันติ การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative
Research) จากเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เพื่อ
นามาวิเคราะห์ถึงเน้อื คุณค่าและอิทธิพลต่อสังคมล้านนา
               ผลการศึกษาวิจัย พบว่า เนื้อหาของคัมภีร์อุปปาตะสันติเป็นการสรรเสริญคุณสิ่งศักดิส์ ิทธิท์ ี่มีอิทธิ
และฤทธานุภาพ เช่น เทวดา อินทร์ พรหม ยักษ์ นาค คนธรรพ์ ครุฑและอสูร ฯลฯ เพื่อระงับเหตุร้าย พ้นจาก
อุปัทวะอันตราย สงิ่ ชัว่ ร้าย ขจัดปัดเป่ าสงิ่ ชัว่ แล้วให้กลายเป็นดีและให้เกิดความสุขสวัสดี โดยมีการแต่งเป็น
ลักษณะร้อยกรองในรูปฉันทลักษณ์แบบปัฐยาวัตรภาษาบาลีขนาดยาวจา นวน 271 คาถา ซึ่งคัมภีร์อุปปาตะ
สันติเป็นวรรณกรรมที่คุณค่าและอิทธิพลต่อสังคมล้านนา ได้แก่ 1) อิทธิพลต่อความเชื่อ สร้างความเลื่อมใส
และการแต่งคัมภีร์ธรรมเพื่อสรรเสริญคุณพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิส์ ิทธิเ์พื่อดลบันดาลให้พ้นจากความทุกข์ 2)
อิทธิพลต่อบุคคลและครอบครัว สร้างความสัมพันธ์ทางด้านจิตใจและทาให้ชีวิต การงานเจริญรุ่งเรือง 3)
อิทธิพลต่อวัฒนธรรมและประเพณี วิถีล้านนาจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะในการประพฤติปฏิบัติต่อพิธีกรรม 4)
อิทธิพลต่อภูมิปัญญาท้องถนิ่ การแต่งวรรณกรรมคัมภีร์เกิดจากภูมิปัญญาท้องถนิ่ ทัง้ ด้านเนื้อหาและจารึกลง
ในใบลาน จะเห็นได้ว่า คัมภีร์มีบทบาทความสาคัญด้วยเหตุ 2 ประการ ได้แก่
              1) ราชูปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ในอาณาจักรล้านนา บทบาทของพระมหากษัตริย์ในการอุปถัมภ์
พระพุทธศาสนาส่งผลให้เกิดความเจริญ (ยุคทอง) ทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ 1) ความแตกฉานทางภาษา
บาลีที่ 2) การเผยแผ่หลักธรรม ในการขัดเกลาจิตใจให้เกิดคุณธรรมและจริยธรรมอันดีงาม 3) วรรณกรรมที่
สาคัญทางพระพุทธศาสนาที่ให้ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น และถูกนามาใช้อ้างอิงความรู้เชิงวิชาการ
นอกจากนี้ ทางวรรณกรรมมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมในล้านนา ดังนี้ 1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นการจารหรือจารึกคำสอนในใบลาน 2) สุนทรียภาพในการแต่ง/รจนา การแต่ง 3) คัมภีร์และคา สอนพื้นเมือง สาระธรรมที่สอดแทรก
หลักธรรม ตานาน ความเชื่อและเกร็ดความรู้ตามขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมของท้องถนิ่
               2) อานิสงส์การแต่ง/ถวายธรรม วรรณกรรมในล้านนาเกิดเชื่อเรื่องผลานิสงส์ที่ได้สร้างและถวาย
ธรรมแห่งวัด นาความสุขมาสู่ตนเองและครอบครัว และเป็นการอุทิศบุญกุศลให้แก่ดวงวิญญาณบุพการีชนให้
ไปสู่สรวงสวรรค์ในสัมปรายิภพ อานิสงส์การแต่ง/ถวาย/สวดและฟังคัมภีร์ในล้านนามีอิทธิพล ได้แก่ 1) ศิริ
มงคล/แคล้วคลาด เป็นมงคลอันยงิ่ ใหญ่แก่ชีวิต พ้นจากอุปัทวะอันตรายทัง้ หลาย 2) สร้างขวัญและกา ลังใจ 3)
คา สอนทางพระพุทธศาสนา เชื่อว่าการให้ธรรมะเป็นทานมีผลานิสงส์กว่าการให้ทัง้ ปวง 4) วัฒนธรรมท้องถนิ่
จารีตประเพณีแบบล้านนานิยมถวายธรรมใช้เทศน์ก่อนหรือหลังการเจริญพระพุทธมนต์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กีรติ กมลประเทืองกร. “คุณค่าของการสวดมนต์ที่มีต่อพุทธศาสนิกชนในสังคมไทย: กรณีศึกษาพระ
พุทธศาสนิกชน วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ิ กรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์พระพุทธศาสนา
มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: วิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2551.
ปีเตอร์เดลลา สันตินา เขียน. สมหวัง แก้วสุฟอง แปล. คา บรรยายพระพุทธศาสนามหายาน. เชียงใหม่:
สาขาวิชา พระพุทธศาสนาศึกษา ภาควิชาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มปป.
พระมหาวัฒน์ วฑฺฒนสุธี (อุปคา) . “คาสอนเรื่องคุณธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในภาษิต
ล้านนา”. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหา
จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2545.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น). “การศึกษาองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ปรากฏใน
วรรณกรรมพระพุทธศาสนาเรื่องอานิสงส์และคัมภีร์เทศน์ในเทศกาลต่างๆ ของล้านนา”.
วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร-ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
2548.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิ ฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกพร้อมอรรกถาแปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏ
ราชวิทยาลัย, 2534.