เครือข่ายความสัมพันธ์เชิงอำนาจของนักการเมืองท้องถิ่นและนักการเมืองระดับชาติในจังหวัดชัยภูมิ: วิเคราะห์ในเชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง

Main Article Content

ณัฐดนัย แก้วโพนงาม
โอฬาร ถิ่นบางเตียว
ชัยณรงค์ เครือนวล

บทคัดย่อ

              เครือข่ายความสัมพันธ์เชิงอานาจของนักการเมืองท้องถิ่นและนักการเมืองระดับชาติในจังหวัดชัยภูมิ: วิเคราะห์ในเชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ1. เพื่อศึกษาการก่อรูปของเครือข่ายอานาจของนักการเมืองท้องถิ่นและนักการเมืองระดับชาติในจังหวัดชัยภูมิ 2. เพื่อศึกษาการขยายเครือข่ายอานาจในระดับชาติและระดับท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ 3. เพื่อศึกษาการรักษาและการสืบทอดเครือข่ายอานาจในระดับชาติและระดับท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ ขอบเขตของการวิจัย ศึกษาตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยเปลี่ยนจากระบบมณฑลเทศาภิบาล เป็นการปกครองส่วนกลางส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นในปี พ.ศ. 2476–2562 ทาการวิจัยในพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดชัยภูมิ จานวน 16 อาเภอ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า การก่อรูปเกี่ยวข้องกับนักการเมืองท้องถิ่นและนักการเมืองระดับชาติ ที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ รวมถึงผลประโยชน์ ต่างตอบแทนมีการใช้เงินทุนในการก่อรูปของเครือข่ายอานาจผ่านหัวคะแนน เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมรวมถึงท้องถิ่นนิยมและภาคอีสานนิยม เชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจและสังคมผ่านระบบอุปถัมภ์ไปสู่ประชาชนซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเครือข่ายอานาจ การสร้างเครือข่ายอานาจมานูเอล คาสเทลล์ (Manuel Castells) ซึ่งเขาระบุชัดเจนว่าอานาจในสังคมเครือข่ายแสดงตัวของมัน ผ่านทางกลุ่มของเครือข่าย1 อานาจของภาคแสดงทางสังคมต่างๆ รวมถึงองค์กรต่างๆ ที่มีเป้าประสงค์เดียวกันเข้ามาร่วมกันจัดตั้งหรือเชื่อมเครือข่ายอานาจเข้าด้วยกัน จากการที่การเชื่อมเครือข่ายของภาคแสดงต่างๆ เกิดขึ้นในบริบทของเทคโนโลยีและสังคมโลกาภิวัฒน์ การขยายเครือข่ายอานาจในระดับชาติและระดับท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างนักการเมืองระดับชาติและนักการเมืองท้องถิ่นซึ่งการขยายเครือข่ายอานาจเกิดจากอุดมการณ์ทางการเมืองที่มีร่วมกันรวมถึงผลประโยชน์ต่างตอบแทนซึ่ง ได้แก่ เงินและผลประโยชน์ต่างตอบแทนในรูปแบบอื่นๆ การขยายเครือข่ายอานาจมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมท้องถิ่น ท้องถิ่นนิยม รวมถึงสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปการรักษาและการสืบทอดเครือข่ายอานาจในระดับชาติและระดับท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันระหว่างนักการเมืองระดับชาติและนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ โดยนักการเมืองระดับชาติจะรักษาและสืบทอดเครือข่ายอานาจบางส่วนผ่านนักการเมืองท้องถิ่นที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองร่วมกันซึ่งต่างก็มีผลประโยชน์ต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน เช่นเงินทุนและผลประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ ผ่านหัวคะแนนที่เป็นเครือข่ายของนักการเมืองระดับชาติและนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิซึ่งการรักษาและสืบทอดเครือข่ายอานาจนี้สัมพันธ์เชื่อมโยงกับวัฒนธรรม ท้องถิ่นนิยม อีสานนิยม สภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปผ่านระบบอุปถัมภ์ที่มีหัวคะแนนเป็นผู้กระทาการและส่งผลกระทบโดยตรงกับประชาชนในจังหวัดชัยภูมิ เครือข่ายอานาจส่วนหนึ่งมาจากท้องถิ่นนิยมหรืออีสานนิยม ที่มีภาษา เอกลักษณ์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์. วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคม. จันทบุรี. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี, 2559
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป และชัยณรงค์ เครือนวน. โครงสร้างอานาจท้องถิ่นระดับตาบลในเขตภาคตะวันออกและจังหวัดปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาพื้นที่สามตาบล. งานวิจัย.วารสารการเมืองการบริหารและกฎหมาย ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี, 2555
ณัฐดนัย แก้วโพนงาม. เศรษฐศาสตร์การเมืองในบริบทสังคมไทยภายใต้สภาวะความขัดแย้งในจังหวัดชัยภูมิ. งานวิจัยทุนวิจัยสานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 2560
เดชะ สิทธิสุทธิ์. การสร้างฐานอานาจทางการเมืองของกลุ่มการเมืองในการเมืองท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีกลุ่ม "สันติธรรม". ในเทศบาลเมืองนครปฐม”,วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร. รัฐศาสตร์ (การปกครอง). คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
นภดล สุคนธวิท. พรรคการเมืองไทยกับการเมืองท้องถิ่น: ผลประโยชน์และฐานอานาจ. วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
สานนท์ ด่านภักดี. เครือข่ายอานาจในจังหวัดชัยภูมิ. การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล จังหวัดชัยภูมิ, 2562
สานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดชัยภูมิ. ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ. จังหวัดชัยภูมิ, 2561
Castell, M. Network Theory/A Network Theory of Power. International Journal of Communication, Vol 5: 773 – 787, 2011
David Knoke and Tetiana Kostiuchenko. Power Structure of Policy Networks. UK: Oxford University Press, 2017
Mann, M.. The Sources of Social Power. Cambridge University Press. (Volume 2). The rise of classes and nation-states, 1760-1914, 1986