การนำหลักอริยทรัพย์ 7 ไปใช้ในการสร้างความปรองดองของประชาชน จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก

Main Article Content

ไพรัช พื้นชมภู
จุรี สายจันเจียม
เนาวรัตน์ ผดุงกิจ

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการนำหลักอริยทรัพย์ 7 ไปใช้ในการสร้างความปรองดองของประชาชน จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก 2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุ และแนวทางแก้ไข การนำหลักอริยทรัพย์ 7 ไปใช้ในการสร้างความปรองดองของประชาชน จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก 3) เพื่อสร้างรูปแบบการนำหลักอริยทรัพย์ 7 ไปใช้ในการสร้างความปรองดองของประชาชน จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก 4) เพื่อพัฒนารูปแบบการนำหลักอริยทรัพย์ 7 ไปใช้ในการสร้างความปรองดองของประชาชน จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนที่อยู่อาศัยใน 5 อำเภอ ของจังหวัดร้อยเอ็ด ที่ได้เลือกไว้ จำนวน 400 คน โดยคำนวณตามสูตรขนาดกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ มัธยฐาน (Median)


              ผลการวิจัยพบว่า การนำหลักอริยทรัพย์ 7 ไปใช้ในการสร้างความปรองดองของประชาชน จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านมิติทางการเมือง (Political Dimension) รองลงมาคือ ด้านมิติทางสังคม (Social Dimension) และ ด้านมิติทางเศรษฐกิจ (Economical Dimension) ส่วนปัญหา สาเหตุ การนำหลักอริยทรัพย์ 7 ไปใช้ในการสร้างความปรองดองของประชาชน ได้แก่ 1) ด้านมิติทางการเมือง (Political Dimension) พบว่า ความเชื่อมั่นศรัทธาร่วมกันในระบบการเมืองใดระบบหนึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งของความปรองดอง ซึ่งแนวทางแก้ไขจะต้องใช้ปัญญาวิเคราะห์สาเหตุของความขัดแย้งทางการเมืองอย่างชัดเจนและปราศจากอคติจะก่อให้เกิดความปรองดองได้ 2) ด้านมิติทางเศรษฐกิจ (Economical Dimension) พบว่า ความเชื่อในระบบเศรษฐกิจที่แตกต่างกันมิใช่สาเหตุสำคัญของความแตกแยกของประชาชน ซึ่งแนวทางแก้ไขจะต้องใช้หลักจาคะ จะต้องมีการจัดสรรและแบ่งปันทรัพยากรของชาติอย่างเป็นธรรม และ 3) ด้านมิติทางสังคม (Social Dimension) พบว่า สถานการณ์รุนแรงที่เกิดมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะภาวะไร้การสละความโลภ ความโกรธและความหลงออกจากใจ ซึ่งแนวทางแก้ไขก็คือทุกปัญหาความขัดแย้ง สามารถแก้ไขให้กลับสู่ความปรองดองได้ด้วยปัญญา สำหรับรูปแบบการนำหลักอริยทรัพย์ 7 ไปใช้ในการสร้างความปรองดองของประชาชน พบว่า 1) ด้านมิติทางการเมือง (Political Dimension) ได้แก่ ความเชื่อมั่นร่วมกันในระบบการเมืองใดระบบหนึ่ง ความเคารพกฎกติกาของบ้านเมือง และความรู้สึกละอายที่จะทำผิดกฎหมายหรือศีลธรรมเป็นปัจจัยบวกของการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก 2) ด้านมิติทางเศรษฐกิจ (Economical Dimension) ได้แก่ ความเชื่อมั่นในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการหมู่บ้านศีล 5 จะทำให้ความปรองดองเกิดขึ้นและเศรษฐกิจดีขึ้นได้ 3) ด้านมิติทางสังคม (Social Dimension) ได้แก่ แม้จะมีความเชื่อในลัทธิและศาสนาที่ต่างกันก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างผาสุกด้วยความมีระเบียบวินัยของสมาชิกในสังคม และการพัฒนารูปแบบการนำหลักอริยทรัพย์ 7 ไปใช้ในการสร้างความปรองดองของประชาชน จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นสอดคล้องกันว่า รูปแบบการนำหลักอริยทรัพย์ 7 ไปใช้ในการสร้างความปรองดองของประชาชน ทุกองค์ประกอบและทุกตัวบ่งชี้มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยมีค่า มัธยฐาน ตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป และค่าพิสัย ระหว่าง ควอร์ไทล์ไม่เกิน 1.50

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ข้อมูลจากสถิติทะเบียนราษฎร์ในจังหวัดร้อยเอ็ด ปีงบประมาณ 2557. สืบค้นจากเว็ปไซต์
https://th.wikipedia.org/wiki/ จังหวัดร้อยเอ็ด
บวรศักดิ ์ อุวรรณโณ. ผ่าทางตันวิกฤติประเทศไทย. 2544, ไทยรัฐออนไลน์, วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ.
2553.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น, พิมพ์ครัง้ ที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น. 2545
พระครูนิกรสุนทรกิจ (สมพงษ์ นุ่มสกุล). ศึกษาวิเคราะห์เรื่องความสามัคคีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
วาท. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2554
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครัง้ ที่ 8.
กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2538
พระมหาจรรยา สุทฺธิญาโณ. พุทธิปัญญากับการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา, 2538.
วิทย์ วิศทเวทย์ และเสถียรพงษ ์ วรรณปก. พระพุทธศาสนา.พิมพ์ครัง้ ที่ 9. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญ
ทัศน์, 2535
ศิริชัย กาญจนวาสี. ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
สถานการณ์ประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2562, จากเว็ปไซต์ https://th.wikipedia.org/wiki/
สภาองค์กรวิชาชีพวิทยุโทรทัศน์ภาคประชาชน (สอทช). บอกเล่าเก้าสิบ (บทความ), 2544, มติชนรายวัน,
ฉบับวันที่ 7 กันยายน 2554, หน้า 2