ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาต่อการปฏิบัติธรรม ในรายวิชาทฤษฏีและการปฏิบัติกรรมฐาน (GS 2006) สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

Main Article Content

ประเวช วะทาแก้ว
กฤตสุชิน พลเสน
สิริพร ครองชีพ

บทคัดย่อ

               บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการปฏิบัติธรรมในรายวิชาทฤษฏีและการปฏิบัติกรรมฐาน (GS 2006) สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาในครั้งนี้ คือนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวนทั้งสิ้น 24 รูป/คน โดยใช้เป็นตัวอย่างทั้งหมด การวิเคราะห์ โดย สถิติบรรยายที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentages) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. (Standard Deviation)


                ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 24 รูป/คน ส่วนมากเป็นเพศชาย จำนวน 20 รูป/คน คิดเป็นร้อยละ 75 และรองลงมาเป็นเพศหญิง 2 คน คิดเป็นร้อยละ 25 และส่วนมากมี อายุระหว่าง 31 - 40 ปี คิดเป็นร้อยละ 25 รองลงมามีอายุระหว่าง 41 - 50 ปี คิดเป็นร้อยละ 47 น้อยที่สุดมีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 33 และส่วนมากมีอาชีพ รับราชการ คิดเป็นร้อยละ 25 รองลงมาทำอาชีพส่วนตัวคิดเป็นร้อยละ 63 และน้อยที่สุดอาชีพ อื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 12


                2. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาพระพุทธศาสนาและปรัชญาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตร หลักสูตรศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านทักษะการดำเนินชีวิต มีค่าเฉลี่ย(= 3.77) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.51 อยู่ในระดับมาก รองลงมามีค่าเฉลี่ย ด้านครูสอนค่าเฉลี่ยคือ (= 3.73) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.414 และด้านที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ ด้านการจัดการกิจกรรมการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ย (= 3.67) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.535


             3. นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา จำนวน 24 รูป/คน ได้เสนอปัญหา คือ เนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนามีเนื้อหาที่ยากมาก และมีเนื้อหาบางรายวิชามีความสอดคล้องกับการนำไปใช้ในปัจจุบัน สามารถนำไปใช้ได้จริงในการดำเนินชีวิต และได้ให้ข้อเสนอแนะ ได้แก่ อยากให้มีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมาให้ความรู้ในบางรายวิชา จะได้เกิดความหลากหลายในความคิด ผลประโยชน์จะเกิดขึ้นกับนักศึกษา เพื่อให้พัฒนาได้เต็มศักยภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บัญชา แสนทวี. การวิจัยในชั้นเรียน จากทฤษฎีสู่ปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2542
พรรณราย รัตนไพฑูรย์. การศึกษาวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตามแนวสติปัฏฐาน 4 ศึกษาแนวการสอนของพระธรรมธีรราชมุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ). วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2543
พระเทพวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ). คู่มือการบาเพ็ญกรรมฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2524
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ). วิปNสสนาแนวสติปัฏฐาน 4. 2552. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2561 จากเว็ปไซต์ http://www.archive.org/details/ShowDok04
พระมหาสุธน ยสสีโล (ผลชอบ). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องวิปัสสนากรรมฐานในพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิตพุทธศาสนาและปรัชญา, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2541
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย. 2556
ที.ม. (ไทย) 0/373/30
ขุ.ม. (ไทย) 29/77/506
วรรณภา โพธิ์ศรี. การพัฒนากระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนเครือข่ายการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาขึ้นพื้นฐาน เขตการศึกษา 7. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. พิษณุโลกมหาวิทยาลัยนเรศวร, 2546
สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา. 2550. หน้า 22 – 29
อาภรณ์ ใจเที่ยง. หลักการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์. 2540