วิถีชีวิตท่ามกลางสังคมและวัฒนธรรมมลายูของแรงงานไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องเรื่อง วิถีชีวิตท่ามกลางสังคมและวัฒนธรรมมลายูของแรงงานไทย มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ 1. เพื่อศึกษาภูมิหลังของแรงงานไทยในประเทศบรูไน 2. เพื่อศึกษาวิถีชีวิตแรงงานไทยท่ามกลางสังคมและวัฒนธรรมมลายูในประเทศบรูไน 3. เพื่อวิเคราะห์กระบวนการปรับตัวเพื่อการอยู่ร่วมกันภายใต้ความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมมลายูในประเทศบรูไน โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการ สัมภาษณ์ (Interview) การสังเกต (Observation) ผลการวิจัยพบว่า แรงงานไทยในบรูไนมีความต้องการไปทำงานหารายได้ สาเหตุที่ทำให้แรงงานไทยไปทำงานในประเทศบรูไน แรงผลักที่สำคัญมาจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ประเทศบรูไนก็เป็นหนึ่งในประเทศที่กลุ่มแรงงานไทยต้องการที่จะเข้าไปขายแรงงาน เนื่องจากมีเศรษฐกิจที่ดี และค่าตอบแทนสูงกว่าประเทศไทย การดำรงชีวิตอยู่ในประเทศบรูไนมีกฎระเบียบรวมถึงข้อห้ามที่เคร่งครัด ศาสนาอิสลามมีบทบาทมากในการกำหนดพฤติกรรมทางสังคม บ้านเมืองจะอยู่ในความเงียบสงบเป็นระเบียบ การปรับตัวเพื่อการอยู่ร่วมกันทางสังคมและวัฒนธรรมของผู้ใช้แรงงาน สามารถแบ่งได้ ดังนี้ ระยะเริ่มต้นของการย้ายถิ่น ผู้ใช้แรงงานตัดสินใจเดินทางไปทำงานต่างประเทศด้วยแรงจูงใจทางด้านเศรษฐกิจ ด้วยความหวังว่าจะได้รับโอกาสทางการเงินที่มากกว่าการทำงานในประเทศไทย โดยผู้ใช้แรงงานมีความรู้สึกวิตกกังวลถึงความเป็นอยู่ในต่างประเทศ เนื่องจากไม่สามารถคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น จึงทำให้ระยะนี้เกิดภาวะที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล ระยะที่ 2 การปรับตัวเข้ากับประเทศปลายทาง ผู้ใช้แรงงานข้ามผ่านการตื่นตาตื่นใจ (Honeymoon Stage) เนื่องจากแรงงานไทยย้ายถิ่นเดินทางมายังต่างประเทศด้วยความจำเป็นและความกดดันทางเศรษฐกิจ และเมื่อเดินทางมาถึงประเทศปลายทางแล้ว แรงงานไม่มีโอกาสได้ประสบกับวัฒนธรรมความเป็นอยู่ในประเทศปลายทางมากนัก เนื่องจากแรงงานมีชีวิตความเป็นอยู่บริเวณที่ทำงานที่นายจ้างจัดไว้ให้เท่านั้น ซึ่งการปฏิสัมพันธ์กับวัฒนธรรมใหม่ในลักษณะนี้อาจทำให้แรงงานเกิดความรู้สึกตื่นเต้นกับความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เกิดความรู้สึกทางลบ และไม่สบายใจกับความเป็นอยู่ในช่วงแรก แต่เมื่อเวลาผ่านไป แรงงานมีการปรับตัวที่ละเล็กละน้อย ในการดำเนินชีวิตให้รู้สึกสบายใจต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเข้าสู่ระยะฟื้นตัว (recovery stage)
Article Details
References
งามพิศ สัตย์สงวน. หลักมานุษยวิทยาวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: บริษัท รามาการพิมพ์ จากัด, 2543
เจริญชัย ยศบรรดาศักดิ์. สาเหตุการไปทางานในประเทศบรูไนของแรงงานไทย. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2552
ไตรพล ตั้งมั่นคง. "แรงงานต่างด้าวชาวพม่า: แนวทางการดาเนินชีวิตอย่างสมานฉันท์ของคนชายขอบจังหวัดสมุทรสาคร." มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2552
นงลักษณ์ ตังคะบุรี. สาเหตุการไปทางานต่างประเทศ: ศึกษาเฉพาะกรณีแรงงานที่ไปไต้หวัน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541
ปัญญา เทพสิงห์ และคณะ. บ้าน ชีวิตและสังคมในวัฒนธรรมมลายู ภายใต้กระแสการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์: กรณีศึกษากัมปงไอเยอร์ ประเทศบรูไนดารุสซาลาม. กรุงเทพมหานคร: สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). 2559
สานักงานแรงงานในประเทศบรูไน. สถานการณ์ด้านแรงงานในประเทศบรูไน. การประชุมหัวหน้าสานักงานแรงงานในต่างประเทศ, ณ โรงแรม Miracle Grand Convention กรุงเทพมหานคร วันที่ 9-13 มกราคม 2560, หน้า 5