การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนด้วยเครือข่ายชุมชนปราชญ์ชาวบ้านโดยใช้วิธีเสริมต่อการเรียนรู้สู่ทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับประถมศึกษาในจังหวัดพะเยา

Main Article Content

เกศราพรรณ พันธุ์ศรีเกตุ คงเจริญ

บทคัดย่อ

               การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนด้วยเครือข่ายชุมชนปราชญ์ชาวบ้านโดยใช้วิธีเสริมต่อการเรียนรู้สู่ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับประถมศึกษาในจังหวัดพะเยา การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตร ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทางด้านการอ่านและการเขียน ของนักเรียนระดับประถมศึกษา เจตคติของนักเรียนและความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโครงการวิจัย ประชากร ได้แก่ นักเรียน จำนวน 27,247 คน ในโรงเรียนประถมศึกษา 241 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยาเขต 1 และเขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที 4, 5, 6 จำนวน 90 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย หลักสูตรส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนด้วยเครือข่ายชุมชนปราชญ์ชาวบ้านโดยใช้วิธีเสริมต่อการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการใช้หลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม จำนวน 30 ข้อ แบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาการอ่านและการเขียนด้วยเครือข่ายชุมชนปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 15 ข้อ การสนทนากลุ่มเพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อการพัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม รายวิชาการอ่านและการเขียนด้วยเครือข่ายชุมชนปราชญ์ชาวบ้าน


              ผลการวิจัยพบว่า


              1. หลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม รายวิชาการอ่านและการเขียนด้วยเครือข่ายชุมชนปราชญ์ชาวบ้านในภาพรวม มีคะแนนความเหมาะสม โดยเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 อยู่ในระดับมากที่สุด และแผนการจัดการเรียนรู้ ในภาพรวมมีคะแนนความเหมาะสม โดยเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 อยู่ในระดับมากที่สุด มีประสิทธิภาพ 83.07/82.50 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้


             2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังการเรียนรู้โดยใช้หลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม รายวิชาการอ่านและการเขียนด้วยเครือข่ายชุมชนปราชญ์ชาวบ้านสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


            3. นักเรียนมีเจตคติต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมและแผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาการอ่านและการเขียนด้วยเครือข่ายชุมชนปราชญ์ชาวบ้าน โดยภาพรวมพบว่า นักเรียนมีเจตคติต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53


           4. จากการศึกษาสรุปผลของการแสดงความคิดเห็นจากการสนทนากลุ่ม ดังนี้ หลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม รายวิชาการอ่านและการเขียนด้วยเครือข่ายชุมชนปราชญ์ชาวบ้าน มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นในด้านการพัฒนาหลักสูตร หน่วยการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้เหมาะสมกับนักเรียนเพราะสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และบริบทของสถานศึกษาในส่วนของโครงสร้างเวลา เนื้อหาสาระ มีความถูกต้องเหมาะสม โดยเฉพาะเนื้อหาสาระการเรียนรู้จะเน้นในด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีการวัดผลและประเมินผลตามสภาพจริง ส่งเสริมให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้จากภูมิปัญญาชาวบ้านและแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นของตนเอง ส่งผลให้นักเรียนมีเจตคติที่ดี เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน นักเรียนได้รับประโยชน์จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพิ่มขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจให้กับตนเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: โรง
พิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (รสพ), 2552.
กระทรวงศึกษาธิการ. การประเมินคุณภาพภายนอก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมการศาสนา, 2549.
ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. การพัฒนาหลักสูตร: หลักการแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อสีนเพรส,
2549.
จักรมณฆ์ ผาสุกวนิช. “การนิเทศภายในหัวใจปฏิรูปการเรียนรู้ในโรงเรียน”. วารสารวิชาการ 7(2) (2557), หน้า 25
ทิศนา แขมมณี. 14 วิธีสอนสาหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 2555.
ธารง บัวศรี. ทฤษฎีหลักสูตร การออกแบบและการพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ธนธัชการพิมพ์, 2542.
นิทราพร ลัดดากรพันธ์. ภูมิปัญญาชาวบ้าน เทคโนโลยีพื้นบ้านและแหล่งวิทยาการในชุมชน.
นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555.
พิกุล จิตหาญ. เสริมสร้างทักษะการทางานเป็นทีม โดยวิธีการสอนแบบการปฏิบัติงานกลุ่มกับ
นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 2 สาขาวิชาการตลาด. การประชุมหาดใหญ่
วิชาการครั้งที่ 4 เรื่อง “การวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมไทย”. 2554. หน้า 521-528
พัชราภา ตันติชูเวช. การศึกษารูปแบบและลักษณะการจัดการศึกษาในรายวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาและในเอเซีย. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2553.
ศยามน อินสะอาด. ศักยภาพและสถานภาพของภูมิปัญญาไทยเพื่อสืบสานการพัฒนาชุมชน
ให้เข้มแข็งและยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: สานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2555.
สมาน ไกรทัต. การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เรื่อง พืชพื้นบ้าน
ตาบลชัยฤทธิ์ อาเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
หลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา, 2551.
สานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. แนวทางการกระจายอานาจการบริหารและการจัด
การศึกษาให้คณะกรรมการ. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค, 2546.
อิทธิพล อาจอินทร์ และธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์. การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานใน
รายวิชาการเรียนรู้เพิ่มเติม. วารสารวิจัย มข, ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (4-6) 2554. หน้า 1-16
อานาจ จันทร์แป้น. การพัฒนาหลักสูตรสู่ทฤษฎีสู่การปฏิบัติระดับโรงเรียน. เชียงใหม่: รุ่งเรืองการพิมพ์,
2542.