การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง

Main Article Content

ปณตนนท์ เถียรประภากุล
เยาวทิวา นามคุณ
เกษตร วงศ์อุปราช
ฉัตรสุดา มาทา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) สภาพบริบทและความต้องการในการสร้างและการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ 3) เพื่อสังเคราะห์ ติดตาม และประเมินผลพฤติกรรมการดูแลสุขภาพกายและใจของผู้สูงอายุตำบลวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นการวิจัยแบบเป็นการวิจัยแบบผสมวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุตอนต้นและผู้สูงอายุตอนกลางที่มีอายุ 60-80 ปี จำนวน 35 คน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) สภาพบริบทของผู้สูงอายุ มีระดับสมรรถภาพทางกายในระดับต่ำ และสุขภาพจิตมีระดับสุขภาพจิตเท่าคนทั่วไป ส่วนการสร้างและการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ มีความต้องการสร้างและพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจ 2) รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย การพัฒนารูปแบบพฤติกรรมการดูแลสุขภาพกายตามหลัก 3 อ องค์ประกอบสุขภาพกายดี ได้แก่ อ ที่ 1 ออกกำลังกาย อ ที่ 2 อาหาร และ อ ที่ 3 อดิเรก การดูแลสุขภาพใจโดยการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจของผู้สูงอายุ ในภาพรวมมีคุณภาพด้านความเหมาะสม และความสอดคล้อง อยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.92) (  = 5.00) 3) ผลการสังเคราะห์และติดตามประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่า ผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพทั้งทางกายและใจ ผลคะแนนประเมินสมรรถนะทางกายกับสมรรถนะทางใจของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กันในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. แบบประเมินสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ฉบับสั้น. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2562, จาก http://mhc7.go.th/archives/6119

โกวิทย์ พวงงาม. การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพ: บริษัท บพิธการพิมพ์ จํากัด, 2553.

คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดลำปาง. แผนพัฒนาจังหวัดลำปาง 2561-2564.

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดลำปาง, 2561.

วิภาดา คุปตานนท์. การจัดการและพฤติกรรมองค์การ: เทคนิคการจัดการใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต, 2551.

ศรีนวล สถิตวิทยานัน. เอกสารประกอบการฝึกอบรม โครงการการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวมเรื่องความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ.คณะพยาบาลศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552.

สุพิตร สมาหิโต และคณะ. แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับผู้สูงอายุ อายุ 60-89 ปี. กรุงเทพฯ: สัมปชัญญะ, 2556.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สรุปผลที่สำคัญการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2560. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2560.

Mahler, Clarence A. Group counseling in the schools. Boston: Houghton Mifflin, 1969.

Oakley.P. & Marsden.D. Approach to Participation in Rural development. Geneva: WHO, 1984.

Shertzer, B., & Stone, S. C. Fundamentals of Guidance (4th ed.). Boston, MA: Houghton Mifflin, 1981.

Yalom, I. D. The theory and practice of group psychotherapy (4th ed.). New York: Basic Books, 1995.