รูปแบบการดูแลสุขภาวะด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านเชิงพุทธบูรณาการในอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง

Main Article Content

วุฒิฤทธิไกร วงศ์มุด

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการดูแลสุขภาวะด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านในการใช้สมุนไพร 2) เพื่อศึกษาองค์ความรู้และวิธีการดูแลสุขภาวะด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านโดยการใช้สมุนไพร 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการดูแลสุขภาวะด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านในอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม  แบบสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 25 รูป/คน จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนา สรุปรายงานผลการวิจัยว่า การดูแลสุขภาวะด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน มีการใช้รักษาด้วยสมุนที่ได้เรียนมา รักษาเบื้องต้น ได้นำต้นกล้าพันธุ์พืชสมุนไพรมาปลูกเองและซื้อจากร้านขายยามาผสมเอง นำมาผสมน้ำผึ้งเป็นลูกกลอนทานมาต้มทานเอง การศึกษาความรู้และวิธีการดูแลสุขภาวะเชิงพุทธตามแบบภูมิปัญญาทางการแพทย์พื้นบ้านในการใช้สมุนไพร วิธีการดูแลสุขภาวะด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านได้มีการนำสมุนไพรไปต้มกินเอง ใช้วิธีการเป่าคาถาใส่จุดที่เจ็บป่วย นำรากไม้มาปั่นยาให้มีละอ่องอ่อนๆ มาผสมน้ำในการรักษา ต้มกินแก้อาการปวดหลังปวดเอว ตามอาการที่ป่วยว่าใช้ควรใช้ยาสมุนไพรชนิดไหนในการถามอาการ และหมอพื้นบ้านจึงดูแลตามที่ตนเองที่ได้รับการอบรมสอนมาจากปู่ยาตายาย รูปแบบการดูแลสุขภาวะเชิงพุทธตามแบบภูมิปัญญาทางการแพทย์พื้นบ้านจากการสังเกตอาการและหมอพื้นบ้านวิเคราะห์อาการก่อนหาตัวยาสมุนไพรไปต้ม และมีการใช้ยาสมุนไพรที่รักษาระหว่างสมุนไพรและยาสมัยใหม่ ซึ่งหมอพื้นบ้านมักจะไม่เรียกร้องเอาค่ารักษา เป็นที่ยอมรับของผู้คนในหมู่บ้าน สมุนไพรมีความปลอดภัย แต่ควรใช้ควบคู่ยาปัจจุบัน โดยยาสมุนไพรต้องมีความพอดีไม่มากหรือน้อยจนเกินไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มารศรี เขียมทรัพย์. ศักยภาพหมอพื้นบ้านกับการสาธารณสุขมูลฐาน: กรณีศึกษาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการ, 2534.

ยงศักดิ์ ตันติปิฎก. เครือข่ายหมอชาวบ้านกับการเปิดพื้นที่ทางสังคมในระบบสุขภาพไทย. นนทบุรี: สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ, 2547.

รุจินาถ อรรถสิษฐ์. “การปรับตัวของการนวดพื้นบ้านในสังคมชนบท”. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2529.

วิไลวรรณ ชัยณรงค์. “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรเพื่อการรักษา”. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาสุขศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2554.

สมพร พวงประทุม. “การมีส่วนร่วมเพื่อการอนุรักษ์สมุนไพรเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพของชาวบ้านในชุมชนถิ่นภาคเหนือ: กรณีศึกษาชุมชนบ้านทุ่งยาว ตําบลศรีบัวบาน อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน” .วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษา.

บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2554.

สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. สมรรถนะทางวัฒนธรรมในระบบสุขภาพ: องค์ความรู้สู่การวิจัยเชิงคุณภาพ.

สรุปสาระการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข, 2556.

สำนักวิชาการ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการสาธารณสุขไทย ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก 2554-2556. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2556.

สุรัตน์ วรางค์รัตน์. ระบบการแพทย์ของหมอพื้นบ้านในพฤติกรรมสุขภาพ. นครปฐม: ข่ายงานวิจัยสุขภาพ ศูนย์ประสานงานการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข, 2533.

เสาวนีย์ กุลสมบูรณ์. รายงานผลการวิจัยโครงการทบทวนสถานการณ์ การส่งเสริมการใช้และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข, 2555.