รูปแบบการพัฒนาเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะสามเณรต้นแบบ ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โดยพุทธบูรณาการ

Main Article Content

ทองล้อม อินทะสร้อย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัย เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎี การพัฒนาเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะ สามเณรต้นแบบ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 ของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา 2) เพื่อศึกษาหลักธรรม ในการพัฒนาเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะสามเณรต้นแบบ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา 3) เพื่อวิเคราะห์เสนอรูปแบบการพัฒนาเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะสามเณรต้นแบบ ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โดยพุทธบูรณาการ  เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานวิธี ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และสามเณรนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 ในสังกัดกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา กลุ่มจังหวัดแพร่ จำนวน 377 รูป/คน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก  โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน การสนทนากลุ่มย่อย โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน และเก็บข้อมูลจากการทดลองใช้รูปแบบ กับสามเณรนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ของโรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา สังกัดกลุ่มจังหวัดแพร่ จำนวน 146 รูป


ผลวิจัย พบว่า


  1. ด้านสภาพทั่วไปเกี่ยวกับการพัฒนาเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะสามเณรต้นแบบ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 ในสำนักงานกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษากลุ่มจังหวัดแพร่ มีอยู่ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ความพอใจ ใส่ใจ คบคนดี 2) ความพยายามเรียนในเรื่องที่มีประโยชน์ 3) ความคิดริเริ่มและมีจินตนาการสร้างสรรค์ และ 4) การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองแล้วนำไปใช้ดำเนินชีวิต โดยรวมผลการประเมิน ทุกด้านอยู่ในระดับมาก

  2. ด้านการบูรณาการหลักธรรมในการพัฒนาเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะสามเณรต้นแบบ ระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4-6 โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา กลุ่มจังหวัดแพร่ พบว่า ได้ดำเนินการตามหลักพุทธธรรม คือ  ภาวนา 2  สิกขา 3  ปัญญา 3  อิทธิบาท 4  ภาวนา 4  อิทธิบาท 4  วุฒิธรรม 4 พหูสูต 5 และสัปปุริสธรรม 7 ในงานวิจัยนี้ ได้คัดเลือก เฉพาะอิทธิบาท 4 และวุฒิธรรม 4 ควบคู่กัน ได้แก่ ฉันทะ + สัปปุริสังเสวะ วิริยะ+ สัทธัมมัสสวนะ จิตตะ + โยนิโสมนสิการ วิมังสา + ธัมมานุธัมมปฏิบัติ โดยนำมาบูรณาในการพัฒนาเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะสามเณรต้นแบบ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนาทางกาย วาจา พอใจ ใส่ใจ ชอบใจ ฉันทะ ด้วยการเลือกคบคนดี สัตบุรุษ สัปปุริสสังเสวะ 2) ด้านความพยายามในการเรียนรู้ วิริยะ ด้วยการฟังเรื่องที่มีประโยชน์ สัทธัมมัสสวนะ 3) ด้านความคิดริเริ่มและมีจินตนาการ จิตตะ ด้วยตรึกตรองความจริงที่มีประโยชน์ โยนิโสมนสิการ 4) ด้านศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง วิมังสา ด้วยการปฏิบัติดี สมควรเป็นแบบอย่างได้ ตามความสามารถ ธัมมานุธัมมปฏิบัติ

  3. รูปแบบการพัฒนาเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะสามเณรต้นแบบ ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ โดยพุทธบูรณาการ จากการวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษา มีอยู่ 5 ด้าน เรียกโดยย่อว่า KOSAI MODEL ได้แก่ 1) K ที่มาจาก Knowledge (ความรู้) 2) O ที่มาจากคำว่า Occasion (โอกาส) 3) S ที่มาจาก Support (สนับสนุน) 4) A ที่มาจากคำว่า Active (การตื่นตัว) และ5) I ที่มาจากความหมายของคำว่า Ict (เทคโนโลยีข้อมูลและการสื่อสาร) รูปแบบนี้มุ่งส่งเสริมคุณลักษณะเพื่อเป็นสามเณรต้นแบบฯ อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้นไป  ผลการทดลองใช้รูปแบบฯ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 146 รูป มีพฤติกรรมการแสดงออก ตามคุณลักษณะสามเณรต้นแบบ ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา โดยภาพรวมทุกด้าน ก่อนหลังการจัดกิจกรรมพัฒนาสามเณรนักเรียน โดยพุทธบูรณาการ ใน 4 ด้าน โดยภาพรวมทุกด้าน ก่อนการจัดกิจกรรมพัฒนานักเรียน ซึ่งมีค่า ( = 4.02) มีระดับพฤติกรรมในด้านความพยายามใฝ่เรียนรู้เรื่องมีประโยชน์ อยู่ในระดับมาก แต่เมื่อได้จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแล้ว พบว่า พฤติกรรมบ่งชี้ดีขึ้น โดยรวมทุกด้าน มีค่าเฉลี่ย ( = 4.54) หมายถึง มีระดับพฤติกรรมในด้านความพยายามใฝ่เรียนรู้เรื่องมีประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. การจัดสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา, 2545.

ขวัญใจ โพธิ์ทองนาค. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ โรงเรียนช่องพรานวิทยา จังหวัดราชบุรี. สารนิพนธ์ กศ.ม.จิตวิทยาการแนะแนว. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ, 2547.

พนอม แก้วกำเนิด. หลักการของหลักสูตรประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา, 2533.

พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ. ปยุตฺโต. สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง จำกัด, 2551.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2545.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2552.

อารี พันธ์มณี. “จากการสอนสู่การจุดประกายความใฝ่รู้”. วารสารการศึกษา กทม.. ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2545: 15.