ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกจุดหมายปลายทางของกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางท่องเที่ยว แบบอิสระในพื้นที่อารยธรรมล้านนา

Main Article Content

พิศาล แก้วอยู่

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกจุดหมายปลายทางของกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางท่องเที่ยวแบบอิสระในพื้นที่อารยธรรมล้านนา มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกของกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกจุดหมายปลายทางของกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางท่องเที่ยวแบบอิสระในพื้นที่อารยธรรมล้านนา โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงผู้ประกอบการทางการท่องเที่ยว การสังเกตและการเก็บแบบสอบถามในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนจำนวน 400 คน ในพื้นที่อารยธรรมล้านนา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม Gen Y ส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ที่มณทลยูนนาน ยังพบว่า ปัจจัยภายในของนักท่องเที่ยวชาวจีนส่วนใหญ่ที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวในภาพรวมมากที่สุด คือ แรงจูงใจ อยู่ในระดับมาก ( = 3.88) (S.D. = 0.95) รองลงมาคือ การเรียนรู้และประสบการณ์ ( = 3.77) (S.D. = 1.13) การรับรู้ ( = 3.61) (S.D. = 1.00) และทัศนคติ ( = 3.25) (S.D. = 1.40) ตามลำดับ ส่วนปัจจัยภายนอกของนักท่องเที่ยวชาวจีนส่วนใหญ่ที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวในภาพรวมมากที่สุด คือ ด้านวัฒนธรรม ( = 3.51) (S.D. = 0.81) โดยอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านกลุ่มอ้างอิง ( = 3.35) (S.D. = 0.91) และด้านสังคม ( = 3.03) (S.D. = 1.19) โดยอยู่ในระดับปานกลางตามลำดับ ทั้งนี้ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกจุดหมายปลายทาง พบว่า ปัจจัยภายในของนักท่องเที่ยวกับตัวแปรการเลือกจุดหมายปลายทางมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยมีขนาความสัมพันธ์เท่ากับ 0.744  และตัวแปรปัจจัยภายในของนักท่องเที่ยวกับตัวแปรการเลือกจุดหมายปลายทาง มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยมีขนาความสัมพันธ์เท่ากับ 0.439

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). ยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพมหานคร.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). แผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอาเซียน พ.ศ. 2559 - 2568 (ASEAN Tourism Strategic Plan). เรียบเรียงเป็นฉบับภาษาไทยโดยกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวง การท่องเที่ยวและกีฬา. กรุงเทพมหานคร.

กรมการท่องเที่ยว. (2563). สถิตินักท่องเที่ยว. สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=618 เมื่อ วันที่ 18 มกราคม 2564.

กรวรรณ สังขกร, อาชว์บารมี มณีตระกูลทอง, กาญจนา จี้รัตน์. (2559). ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวจีน ในประเทศไทย หลังกระแสภาพยนตร์ The Lost in Thailand. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กรวรรณ สังขกร และคณะ. (2560). รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนงานวิจัยการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว: ตลาดนักท่องเที่ยวจีน. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ได้รับทุนสนับสนุนจากสานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่. (2560). บรรยายสรุปจังหวัดเชียงใหม่ ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดเชียงใหม่.

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2556). การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. ภาควิชาศิลปะชีพ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภค. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.

ธีรศานต์ สหัสสพาศน์, นรินทร์ สังข์รักษา. (2560). การท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา : ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. SDU Res. J. 13 (3): Sep-Dec 2017.

นิศศา ศิลปเสรฐ. (2561). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่8. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2555). การจัดการด้านการตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว Marketing Management for Tourism Industry. หจก.เฟริ์นข้าหลวง พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. นนทบุรี.

รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์. (2558). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว Tourist behavior. ISBN 9786165382526. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

รัชพล เตชะพงศกิต. (2561). พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของนักท่องเที่ยวจีนรุ่นใหม่ ผู้ประกอบการ SME ควรปรับตัวอย่างไร.

ส่วนพัฒนาเครื่องมือและประมาณการทางเศรษฐกิจ ฝ่ายวิเคราะห์สถานการณ์และเตือนภัยทางเศรษฐกิจ. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.).

วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง. (2557). ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทย Destination Image in Thailand. คณะ บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, ปีที่ 34 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2557.

ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง. (2561). มณฑลยูนนาน. Thailand Business Information Center in China. สืบค้นจาก https://thaibizchina.com/country/yunnan/print/. เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2563.

สรรเพชญ ภุมรินทร์ และอานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์. (2560). การวิเคราะห์แบ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนตามพฤติกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ ฉบับที่ 13 ปีที่ 1 2560.

เลิศพร ภาระสกุล. (2555). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.

อภิวัฒน์ รัตนวราหะ, คมกริช ธนะเพทย์. (2562). โครงการวิจัยย่อยที่ 2 แนวทางการออกแบบและพัฒนาเมืองท่องเที่ยวสำหรับประเทศไทย 4.0: กรณีศึกษาภูเก็ต เชียงราย และพัทลุง. สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

อัศวิน แสงพิกุล. (2556). ระเบียบวิธีวิจัยด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพมหานคร.

Lei Jun. (2553). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนันทนาการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้. จังหวัดเชียงใหม่.

Xin Lui. (2556). แนวทางการตลาดสำหรับบริษัทตัวแทนการท่องเที่ยวไทยเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวจีนแบบอิสระ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Airports of thailand public company limited (AOT). (2019). Summary Report. Air Traffic Report. Air transport information and slot coordination division. Corporate strategy department.

Um S, Crompton JL (1999). The Roles of Image and Perceived Constraints at Different Stages in the Tourist’s Destination Decision Process” In A Pizam, Y Mansfeld (Eds.). Consumer Behavior in Travel and Tourism (pp. 81-102). New York: Haworth Press.

Roger St George March and Arch G. Woodside. (2005). Tourism Behaviour Traveller’ Decisions and Action. CABI Publishing is a division of CAB International. London, UK.

Leisen, B. (2001). Image Segmentation: the Case of Tourism Destination. Journal of Service Marketing, 15(1), 49- 69.

Pinki Rani. (2014). Factors influencing consumer behaviour. Institute of Law Kurukshetra, University Kurukshetra, India. Excellent Publishers. 2(9).

Delia FRATU. (2011). Factors of Influence and Changes in the Tourism Consumer Behaviour. Bulletin of the Transilvania University of Braşov. Vol. 4 (53) No.1.

Gene Sprechini. (1980). Scheffe’s Pair Wise Comparison of Means. Department of Mathematical Sciences. Lycoming College.