การส่งเสริมความเข้มแข็งการเมืองภาคประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ชุมพล เพ็งศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพการเมืองภาคประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา 2. เพื่อศึกษากระบวนการส่งเสริมความเข้มแข็งการเมืองภาคประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา 3. เพื่อนำเสนอการส่งเสริมความเข้มแข็งการเมืองภาคประชาชนในจังหวัดนครราชสีมาวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 13 รูปหรือคน จากแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนา


                ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพการเมืองภาคประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา มีดังนี้ 1) ด้านการเคลื่อนไหวร้องทุกข์หรือเรียกร้องให้รัฐเข้ามาแก้ไขปัญหา การเคลื่อนไหวร้องทุกข์หรือเรียกร้องให้รัฐเข้ามาแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน 2) ด้านการเคลื่อนไหวเพื่อมุ่งตรวจสอบกระบวนการใช้อำนาจรัฐ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพื่อปกป้องและเรียกร้องสิทธิเสรีภาพความยุติธรรมให้กับตนเอง 3) ด้านการประท้วงอำนาจรัฐและเรียกร้องให้มีการถ่ายโอนอำนาจรัฐ ประชาชนเรียกร้องให้มีการถ่ายโอนอำนาจรัฐ 4 จัดเลือกตั้งใหม่ 4) ด้านร่วมมือเชิงวิพากษ์กับรัฐและผูกพันในทางสร้างสรรค์ ในกระบวนการใช้อำนาจของประชาสังคม ไม่ขัดขวางการแสดงออกของประชาชน

  2. กระบวนการส่งเสริมความเข้มแข็งการเมืองภาคประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย 1) ด้านการดำเนินการเลือกตั้ง ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง มีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่น สร้างการเปลี่ยนแปลงท้องถิ่นโดยเลือกตั้งนักการเมืองที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาท้องถิ่น 2) ด้านการร่วมรณรงค์เลือกตั้งกลุ่มการเมืองภาคประชาชน มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนให้ประชาชนได้เข้ามาร่วมกิจกรรมในการเลือกตั้งซึ่งเป็นการแสดงออกตามวิถีประชาธิปไตย 3) ด้านการตัดสินใจในทางการเมือง ตัดสินใจเลือกตัวแทนนักการเมือง โดยดูจากหลักการนโยบายของกลุ่มการเมือง ที่แสดงถึงความมีคุณธรรม สร้างความยุติธรรมให้กับชุมชน

  3. การส่งเสริมความเข้มแข็งการเมืองภาคประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติดังต่อไปนี้ 1) ด้านหมั่นประชุมกันเป็นประจำ ประชาชนมีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางการเมืองโดยแสดงความคิดเห็นด้วยวิธีการประชุม 2) ด้านพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม การประสานให้เกิดการประชุมอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นการประชุมโดยพร้อมเพียงกันและเลิกประชุมโดยพร้อมเพียงกัน 3) ด้านปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ การส่งเสริมให้สมาชิกในกลุ่มการเมืองปฏิบัติตามมติที่ประชุม 4) ด้านเคารพนับถือผู้ใหญ่  ประชาชนจะให้ความเคารพนับถือต่อประธานที่ประชุมหรือผู้ดำเนินกิจกรรม 5) ด้านการไม่ลุแก่อำนาจ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นมีลักษณะของการไม่ลุแก่อำนาจ  รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 6) ด้านรักสันติภาพ จัดเวทีทางการเมืองเพื่อสร้างสันติภาพพิจารณาความคิดเห็นของทุกคนด้วยความเป็นกลาง 7) ด้านตั้งใจสนับสนุนคนดี การสร้างเครือข่ายการเมืองภาคประชาชนเพื่อปกป้องและรักษาคนดีส่งเสริมคนดีให้เข้ามามีบทบาททางการเมือง  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักษ์ พันธ์ชูเพชร. การเมืองการปกครองไทย "จากยุคสุโขทัยสู่สมัยทักษิณ". พิมพ์ครั้งที่ 5, กรุงเทพมหานคร : พั้นช์ กรุฟ, 2549.

ถวิลวดี บุรีกุลและคณะ. “แนวทางการประเมินการมีส่วนร่วมทางการเมืองของชุมชนในบริบทของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น: สังเคราะห์จากบทเรียน 3 กรณีศึกษา”. รายงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า, 2547.

นิติธร กล่าคุ้มและเชี่ยวชาญ อาศุวัฒนกูล. “วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา”. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2560) : 125-130.

ผลการเลือกตั้งรายจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://election.pptvhd36.com/region/2/23, 31 ธันวาคม 2562 .

พระมหายุทธพิชัย สิริชโย. “การบริหารงานตามหลักอปหานิยธรรม”. วารสารสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561) : 139-152.

ยุทธ ไกยวรรณ์. วิจัยการตลาด. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ, 2555.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ 2550. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา มาตรา 164,165,287 .

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ 2560. ราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา มาตรา 44,45.

ศรัญยู หมั้นทรัพย์. การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง : รากฐานของการ เมืองภาคพลเมือง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า, 2550.

อมร รักษาสัตย์และคณะ. การเมืองการปกครองไทยตามรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน. กรุงเทพมหานคร : สมาคมรัฐธรรมนูญเพื่อประชาชน, 2544.