ประวัติศาสตร์จังหวัดชัยภูมิ.
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องประวัติศาสตร์จังหวัดชัยภูมิ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1. ศึกษาประวัติศาสตร์ของจังหวัดชัยภูมิในแนวเศรษฐศาสตร์การเมือง 2. ศึกษาวิวัฒนาการพัฒนาการของประวัติศาสตร์จังหวัดชัยภูมิตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 3. เผยแพร่ประวัติศาสตร์จังหวัดชัยภูมิให้คนโดยทั่วไปรู้จักอย่างแพร่หลาย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชัยภูมิ
ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบต่าง ๆ ของจังหวัดชัยภูมิ ซ้อนทับกันอยู่ทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม ด้านศาสนาและอุดมการณ์ เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนมีความเกี่ยวพันกันเป็นระบบตั้งแต่ในอดีตต่อเนื่องยาวนานมาจนถึงในปัจจุบัน โดยจังหวัดชัยภูมิมีคนอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจำนวนมากเนื่องจากมีพื้นที่ป่าและเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำชีมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ โดยประวัติศาสตร์จังหวัดชัยภูมิเกี่ยวข้องกับ การแสวงหาถิ่นที่อยู่ใหม่ที่อุดมสมบูรณ์ วัฒนธรรม ภาษา ความเชื่อ วิถีชีวิต หนีภัยสงคราม และโรคระบาด ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย ซึ่งจังหวัดชัยภูมิมีพัฒนาการ มีการเคลื่อนไหว และมีการเปลี่ยนแปลง หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า มีพลวัต มิใช่สังคมที่หยุดนิ่งอยู่กับที่ โดยพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดชัยภูมิมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีขั้นมีตอน มียุค มีระยะ ประวัติศาสตร์ในอดีตต่างเชื่อมโยงกับปัจจุบัน หากจะมองย้อนไปในประวัติศาสตร์จังหวัดชัยภูมิโดยเริ่มตั้งแต่อดีต ซึ่งในอดีตเคยเป็นชุมชนโบราณที่คนอยู่อาศัยจำนวนมากตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี ต่อเนื่องยาวนานมาจนถึงปัจจุบันซึ่งจังหวัดชัยภูมิได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน ทั้งนี้ควรมีการเผยแพร่ประวัติศาสตร์ของจังหวัดชัยภูมิให้คนชัยภูมิและคนโดยทั่วไปได้รู้จักประวัติศาสตร์จังหวัดชัยภูมิอย่างแพร่หลาย
Article Details
References
ไข่มุก อุทยาวลี และบรรจง ฟ้ารุ่งสาง,งานวิจัยเรื่องการศึกษาประวัติศาสตร์สังคมพหุวัฒนธรรมจากตำนานประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคใต้,(กรุงเทพฯ:สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.), 2560).
ชัยศิริ หลวงแนม,งานวิจัยเรื่องการพัฒนาเนื้อดินเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนผ่านการศึกษาประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาดั้งเดิมสู่การเผยแพร่ในรูปแบบเว็บไซต์และสื่อการเรียนรู้,(กรุงเทพฯ:สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.), 2562).
ชเนตตี จาตุรนต์รัศมี,งานวิจัยเรื่องภูมิวัฒนธรรมกับแนวทางการอนุรักษ์วิถีชีวิตริมคลองข้าวเม่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา,(วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2561).
ณัฐดนัย แก้วโพนงาม,งานวิจัยเรื่องเศรษฐศาสตร์การเมืองในบริบทสังคมไทยภายใต้สภาวะความขัดแย้งในจัหวัดชัยภูมิ,(ชัยภูมิ: ทุนวิจัยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ปี 2560,2560).
ปริญ รสจันทร์,งานวิจัยเรื่องคนบวชควายแห่งลุ่มน้ำชี:ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแห่งพื้นที่วัฒนธรรมควายจ่า,(กรุงเทพฯ:ทุนการวิจัยจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ 2560,2560).
ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์และกนกศักดิ์ แก้วเทพ, มาศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองกันเถิด,(กรุงเทพฯ:เอกสารอัดสำเนา.ม.ป.ท., 2547).
ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์,เศรษฐศาสตร์การเมืองและทฤษฎีสังคมวิพากษ์,(ขอนแก่น:คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2557).
รัตนา โตสกุล,อีสานนิยม: ท้องถิ่นนิยมในสยามประเทศไทย,(กรุงเทพฯ.มูลนิธิโครงการตำรา
สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์,2556).
Keyes, Charles F,Isan: Regionalism in Northeastern Thailand. Ithaca, (NY: Cornell
University Southeast Asia Program,1967).
Thailand, Ministry of Agriculture, Division of Agruicultural Economiccs,Office of the Under – Secretary of State, Thailand Economic Fram Survey,1953,Bangkok,1955.
.