ศักยภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการพื้นที่ทุ่นระเบิดในเขตชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดจันทบุรีและตราด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา และผลกระทบของพื้นที่ทุ่นระเบิด ศักยภาพ ปัจจัยที่มีผลและข้อเสนอเชิงนโยบายในการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการพื้นที่ทุ่นระเบิดในเขตชายแดนไทย-กัมพูชาของจังหวัดจันทบุรีและตราด วิธีทยาการวิจัยจะใช้การวิจัยเชิงคุณภาพแนวประวัติศาสตร์โดยใช้วิธีกรณีศึกษา การวิจัยเอกสาร การศึกษาประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า การสัมภาษณ์เจาะลึกรวมถึงการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม ผลการศึกษา พบว่า ยังคงมีปัญหาทุ่นระเบิดหลงเหลืออยู่ทั้งในจังหวัดจันทบุรีและตราดอีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อชีวิต ทรัพย์สินและสัตว์ป่า ปัญหาดังกล่าวชุมชนทั้งสองจังหวัดมีศักยภาพในการวิเคราะห์ปัญหา การแสวงหาทางเลือกใหม่และการสางแผนเกี่ยวกับการบริหารจัดการพื้นที่ทุ่นระเบิดจากการมีทุนทางวัฒนธรรม ทางสังคมและทางเศรษฐกิจ ข้อเสนอในเชิงนโยบายนั้นควรเน้นการบริหารจัดการแบบภาคีเครือข่ายซึ่งประกอบด้วยองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม
Article Details
References
สรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลผู้เดือดร้อนจากภัยทุ่นระเบิดตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา. เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554
Bourdier Pierre. Outline of a Theory of Practice. Translated by Richard Nice. New York: Cambridge University Press. 1972