การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดพะเยา ตามเกณฑ์คุณภาพ PMQA

Main Article Content

รักษ์ศรี เกียรติบุตร

บทคัดย่อ

               การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ1) ศึกษาการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพะเยาตามเกณฑ์คุณภาพ PMQA หมวดที่ 3และ 2) ศึกษาข้อดีและข้อด้อยของการใช้เกณฑ์คุณภาพ PMQAหมวดที่ 3ในการประเมินความต้องการของผู้รับบริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพะเยาทำการเก็บข้อมูล 2 ครั้งจากประชากรตำบลทุ่งกล้วย อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยาที่มาใช้บริการจำนวน 8,012 คน รวมทั้งคัดเลือกผู้ให้บริการจำนวน 10 คน คิดเป็นกลุ่มตัวอย่าง 390 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหาเกี่ยวกับข้อคิดเห็นของผู้รับบริการ


               ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 50.4 อายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 47.3 สถานภาพสมรสร้อยละ 67.6และมีอาชีพหลักคือเกษตรกรรมร้อยละ 45.9ระดับความพึงพอใจการบริการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด(= 4.34) โดยในปีที่ 1 ระดับมากที่สุด (= 4.49) และระดับมากในปีที่ 2 (= 4.18) เมื่อวิเคราะห์ตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ PMQA หมวดที่ 3 พบว่า ผลลัพธ์ด้านการให้ความสำคัญแก่ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผ่านเกณฑ์คุณภาพระดับพื้นฐานเมื่อพิจารณารายประเด็นพบว่า ผลการประเมินปีที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุดในทุกประเด็น ยกเว้นประเด็นการสร้างความผูกพันกับผู้รับบริการอยู่ในระดับมากและปีที่ 2 ระดับมากในทุกประเด็น โดยประเด็นการสร้างความผูกพันกับผู้รับบริการอยู่ระดับต่ำสุด


                การประเมินกระบวนการและผลสำเร็จตามตัวชี้วัดเพื่อยกระดับมาตรฐานและคุณภาพการบริการตามเกณฑ์PMQAหมวดที่ 3 มีข้อดีในการส่งเสริมให้หน่วยงานทราบจุดบกพร่องและสามารถกำหนดเป้าหมายการทำแผนปรับปรุงองค์การให้สมบูรณ์มากขึ้นอย่างเป็นระบบได้มาตรฐาน สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป สำหรับข้อด้อย คือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานยังมีองค์ความรู้เรื่องการประเมินไม่เพียงพอ จึงควรกำหนดแนวทางการให้ความรู้ให้มากขึ้นเพิ่มบทบาทการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนภารกิจการพัฒนาการบริหารจัดการภาครัฐสู่เป้าหมายเพื่อความสำเร็จขององค์การโดยรวม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิรพัฒน์ เขียนทองกุล, การกระจายอานาจและการปกครองท้องถิ่นไทยช่วงหลังรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550-2559: การเมืองไทยที่ไร้เสถียรภาพกับความไม่เชื่อใจในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ปีที่ 1ฉบับที่ 2 กรกฎาม-ธันวาคม 2559.
โกวิทย์ พวงงาม. การปกครองท้องถิ่นไทย: หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, 2548.
โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย. สานักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. ถนนศรีอยุธยา ราชเทวี กรุงเทพมหานคร. 2557. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2561.จาเว็ปไซต์ http://www.km.thaicyberu.go.th/KM%20CHO/paper/PMQAKM.pdf
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขถึงฉบับที่ 13 พ.ศ.2552, 2558.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สืบค้นเมื่อ วันที่15 มกราคม 2561. จากเว็ปไซต์ http://www.dede.go.th/ewt_dl_link.php?nid=40082
สรวิชญ์ เปรมชื่น. คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐในระบบราชการไทย, สมาคมส่งเสริมคุณภาพแห่งประเทศไทย กระทรวงอุตสาหกรรม, 2561.
สรวิชญ์ เปรมชื่น. คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐในระบบราชการไทย. สมาคมส่งเสริมคุณภาพแห่งประเทศไทย กระทรวงอุตสาหกรรม, 2561.
สานักงานพัฒนาระบบราชการ. การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 2551-2555. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2561. จากเว็ปไซต์ https://www2.opdc.go.th/special.php?spc_id=4&content_id=153
องค์การบริหารส่วนตาบลทุ่งกล้วย. ข้อมูลพื้นฐาน. เอกสารรายงานประจาปี 2560 (เอกสารอัดสาเนา).
เอกวิทย์ มณีธร. ระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชนของไทย. กรุงเทพมหานคร: หจก.เอ็ม.ที.เพลซ, 2552.
Likert Rensis. The Human Resources: Cases and Concept. New York: Hart Cout Brace B. World in Coperated, 1970. Taro Yamane. Elementary Sampling Theory. Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice-Hall, Inc. 1967.