แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐกลุ่มภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

สุทธิพร สายทอง

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยของอาจารย์ในกำของรัฐ กลุ่มภาคเหนือตอนบน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับสมรรถนะด้านการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ กลุ่มภาคเหนือตอนบน2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัย  ในกำกับของรัฐ กลุ่มภาคเหนือตอนบนการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของสมรรถนะด้านการวิจัยของอาจารย์  2.ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของอาจารย์ โดยขั้นตอนแรกใช้การสำรวจข้อมูลด้วยแบบสอบถามสภาพทั่วไปของสมรรถนะด้านการวิจัยของอาจารย์,ผู้บริหารวิชาการ,อาจารย์ผู้อำนวยการศูนย์ฯ และผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัย มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ กลุ่มภาคเหนือตอนบน 


            ผลการวิจัยพบว่า


            สภาพทั่วไปของมรรถนะด้านการวิจัยของอาจารย์  ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.20,S.D.=0.04) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูลสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์หรืออินเตอร์เน็ต( =4.35,S.D.=0.67) รองลงมาอาจารย์มีรู้เกี่ยวกับการเขียนรายงานการวิจัยคือ( =4.35,S.D.=0.67) 


            สมรรถนะการวิจัยด้านทัศนคติของอาจารย์ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ( =2.98,S.D.= 0.17) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การทำวิจัยช่วยพัฒนาความรู้ความสามารถของตัว ท่านอย่างเต็มที่ ( =4.26,S.D.=0.76) รองลงมาผู้ตอบแบบสอบถามมีความเข้าใจในการทำวิจัยว่า มีความสำคัญอย่างมากเห็นสมควรที่คณาจารย์ทุกท่านต้องทำวิจัย อยู่ในระดับมาก ( =4.21,S.D.= 0.87)


           สมรรถนะการวิจัยด้านความรู้ของอาจารย์ พบว่าด้านแรงจูงใจ  โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ( =4.02,S.D.=0.14) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าหน่วยงานมีการประกาศเป็นนโยบายให้อาจารย์ทำวิจัย และแนะนำไปสู่การปฏิบัติ อยู่ในระดับ ( =4.26,S.D.=0.71) และรองลงมาพบว่าหน่วยงานมีการประชาสัมพันธ์เรื่องการขอทุนวิจัยในแต่ละปีให้ทั่วถึง มีการจัดสรรเงินทุนให้อาจารย์เพื่อทำงานวิจัย อยู่ในระดับ ( =4.26,S.D.=0.71)


แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยเพื่อสร้างความรู้แก่อาจารย์ พบว่า มหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับว่ามีคุณภาพสูงส่วนหนึ่งเป็นเพราะการบริหารจัดการวิจัยที่มีคุณภาพ ควรจัดให้มีกลไกลของระบบช่วยเหลือ จากระบบพี่เลี้ยง หรือระบบที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำ แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยเพื่อสร้างทัศนะคติแก่อาจารย์ พบว่า ควรสร้างความตระหนักรู้แก่การทำวิจัยของอาจารย์  ควรสร้างค่านิยมในการทำวิจัยแก่อาจารย์ อาจารย์มหาวิทยาลัย จะต้องมุ่งวิจัยอย่างมีทิศทางและและต้องทุ่มเทเอาใจใส่ในแนวทางการวิจัยนั้นอย่างจริงจัง แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยเพื่อสร้างแรงจูงใจแก่อาจารย์ พบว่าปัจจัยสาเหตุความต้องการจำเป็นสมรรถนะด้านการวิจัยสำหรับอาจารย์ สิ่งสำคัญอันดับแรกคือการกำหนดแนวทางการพัฒนางานวิจัย คือการศึกษากรอบแนวคิด นโยบาย วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ของประเทศและทิศทางการสนับสนุนงานวิจัยของหน่วยงานให้ชัดเจน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรัส สุวรรณเวลา. บนเส้นทางสู่มหาวิทยาลัยวิจัย. กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534.
พงษ์พัชรินทร์ พุธวัฒนะ. กลยุทธ์การพัฒนาวัฒนธรรมวิจัยของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาอุดมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. การพัฒนาคณาจารย์. กรุงเทพมหานคร:เครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย, 2543.
อังศินันท์อินทรกา แหงและทัศนา ทองภักดี. รายงานการวิจัยฉบับที่103 การพัฒนา รูปแบบสมรรถนะด้านผู้นาทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐเอกชน และ ในกากับของรัฐ. กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2549.
อาทิตยา ดวงมนี. การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมสาหรับความเป็นเลิศทางวิชาการของสาขาวิชาทางในมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตภาควิชาวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Herzberg. Federick:Bernard:and Synderman. BlockThe Motivation to Work. New York:John Wiley, 1959.