แนวทางในการอนุรักษ์โบราณสถานในวัดมณีวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

พีรวัชร์ ราชิวงศ์

บทคัดย่อ

                วิทยานิพนธ์นี้เป็นเรื่องศึกษาแนวทางในการอนุรักษ์โบราณสถานในวัดมณีวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี นี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์โบราณสถานทางพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์โบราณสถานในพระพุทธศาสนาของพระสงฆ์วัดมณีวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี 3) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการอนุรักษ์โบราณสถานทางพระพุทธศาสนาของพระสงฆ์วัดมณีวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีวิทยาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) ใช้การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เฉพาะกลุ่มประชากรที่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นการวิจัย ผลจากการศึกษาพบว่า


              แนวทางการอนุรักษ์โบราณสถานทางพระพุทธศาสนา นั้นถือเป็นหน้าที่หลักของกรมศิลปากร สำนักงานโบราณคดีและสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เป็นผู้รับผิดชอบปฏิบัติเป็นหลัก โดยจะต้องเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะในฐานะหลักฐานที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ มีคุณค่าทางศิลปะที่เกี่ยวพันธ์กับชุมชนสังคมประเทศชาติเป็นสำคัญ แนวทางอนุรักษ์ที่สำคัญกระทำได้โดยการดูแลรักษาปกป้องไม่ให้เกิดความเสียหายหรือถูกทำลายเป็นสำคัญ


                แนวทางการอนุรักษ์โบราณสถานของพระสงฆ์วัดมณีวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี พบว่าบทบาทพระสงฆ์มีความสำคัญในการอนุรักษ์โบราณสถานเป็นอย่างยิ่งนอกเหนือจากบทบาทในด้านอื่นๆ ซึ่งบทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์โบราณสถานนั้นถือเป็นหน้าที่ตามบัญญัติพระธรรมวินัย ที่พระพุทธเจ้าได้มอบหมายให้พระสงฆ์ภายในวัดมีหน้าที่ในการช่วยดูแลรักษาศาสนสมบัติของวัด นอกจากนี้แล้วยังถือเป็นหน้าที่ตามความแห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ที่พระสงฆ์ผู้ดำรงตำแหน่งทางการปกครองวัด หรือ เจ้าอาวาส มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ


                ดังนั้นแนวทางการอนุรักษ์โบราณสถานในพระพุทธศาสนาของพระสงฆ์วัดมณีวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี จึงถือเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ และความมีส่วนร่วมจากชุมชนที่เกี่ยวข้องในการดูแลโบราณสถานจึงจะทำให้เกิดการอนุรักษ์โบราณสถานที่มีความมั่นคงยั่งยืนเป็นแหล่งการเรียนรู้แก่สังคมและประเทศชาติต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. การอนุรักษ์โบราณสถาน: การขึ้นทะเบียนโบราณสถาน. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงวัฒนธรรม, 2553
โครงการสารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มที่ 16 เรื่องที่ 3 การอนุรักษ์โบราณสถาน และโบราณวัตถุ. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2560. เวลา 12.00 น. จากเว็ปไซต์ http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book
กองนโยบายและแผนงาน สานักผังเมืองกรุงเทพมหานคร. รายงานการศึกษาเกี่ยวกับโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร, 2545
นิคม มูสิกะคามะ. แนวปฏิบัติในการสงวนรักษาโบราณสถาน ตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ พ.ศ. 2535. กรุงเทพมหานคร: รุ่งศิลป์การพิมพ์, 2548
สานักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ. กฎหมายน่ารู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สานักพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2560
สัมภาษณ์
พระครูโกศลวิหารคุณ. เจ้าคณะตาบลในเมือง. สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2560.
พระเทพวราจารย์. (ศรีพร ป.ธ. 9, Ph.D.), เจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี. สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2560.
พระภักชรพงศ์ ปภสฺสโร. ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์โบราณสถานในวัดมณีวนาราม. สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2560.
นางประภัสสร ภูสะพาน. รองผู้อานวยการฝ่ายบริหารงานวิชาการโรงเรียนอุบลวิทยากร. สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2560.
นายทัสนะ ภูผาธรรม. ผู้อานวยการกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน. สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2560.
นายปกรณ์ ปุกหุต. ผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่น. สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2560
นายประดับ ก้อนแก้ว. ประชาชนทั่วไป. สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2560.
นายประดับ ก้อนแก้ว. ประชาชนทั่วไป. สัมมภาษณ์เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2560.