ธาตุ: ความหมายในพระพุทธศาสนาเถรวาท
Main Article Content
บทคัดย่อ
คำว่า “ธาตุ” มีความหมายหลายประการ ไม่อาจจำกัดลงเพียงความหายใดความหมายหนึ่ง ขึ้นอยู่กับว่า จะมองผ่านกรอบแนวคิดใด ตามความหมายของรากศัพท์ในภาษาบาลี “ธาตุ” หมายถึง “สิ่งที่ทรงสภาพของตนไว้” ตามความหมายทางวิทยาศาสตร์ “ธาตุ แปลมาจากคำว่า “Element”หมายถึง “สสารที่ไม่สามารถทำให้แตกย่อยเป็นสสารอื่นที่เล็กลงโดยวิธีการทางเคมีหรือทางกายภาพได้อีก ได้แก่ อะตอม” ดังนั้น ในทางพระพุทธศาสนา “ธาตุ” จึงครอบคุลมสิ่งทั้งที่เป็นรูปธรรม(สสาร) และนามธรรม(จิตใจ) ขณะที่วิทยาศาสตร์ มุ่งเพียงสิ่งที่เป็นรูปธรรม(สสาร) ความสำคัญของธาตุได้แก่ความเป็นมูลเหตุทำให้เกิดโลก จักรวาล เอกภพและสิ่งที่มีชีวิตการศึกษาเรื่องธาตุในพระพุทธศาสนาเถรวาทพบว่า ธาตุเป็นพื้นฐานสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ธาตุเป็นความจริงทั้งในด้านรูปธรรมและนามธรรม เป็นความจริงทั้งทางด้านจิตและสสารธาตุเป็นสัมพันธภาพดั้งเดิมที่มนุษย์มีต่อกัน เมื่อเข้าใจปรากฏการณ์ของธาตุทั้งภายนอกและภายในทำให้เกิดมุมมองต่อโลกและชีวิตว่าสิ่งทั้งหลายล้วนต้องอิงอาศัยกัน (ปฏิจจสมุปบาท) ธาตุในพระพุทธศาสนาเถรวาทมีความหมายสอดคล้องบางประการกับแนวคิดทางด้านวิทยาศาสตร์ ประการสุดท้าย ธาตุมีคุณค่าใน 2 ระดับคือคุณค่าแท้และคุณค่าเทียม
Article Details
References
ซาเมียร์ โอคาชา. ปรัชญาวิทยาศาสตร์ โดยสังเขป. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร องค์การมหาชน. 2549.
ไทย-ไทย: พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2542.
วัชระ งามจิตรเจริญ. พุทธศาสนาเถรวาท. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์ธรรมศาสตร์.2552
พระพรหมบัณฑิต ประยูร ธมฺมจิตฺโต. พระพุทธศาสนากับฟิสิกส์ควอนตัมความเหมือนที่แตกต่าง. ในพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์. พิมพ์พิเศษ. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.2555.
พุทธทาสภิกขุ. อิทัปปัจจยตา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ตถาตา พับลิเคชั่น จากัด. 2549.