ผีตาโขน: พุทธศรัทธาในรูปแบบของวัฒนธรรมพื้นบ้าน

Main Article Content

พระครูปลัดสุรวุฒิ แสงมะโน และคณะ

บทคัดย่อ

              บทความฉบับนี้เป็นบทความทางวิชาการที่มุ่งประเด็นนาเสนอเนื้อหาสาคัญ เกี่ยวกับวัฒนธรรมพื้นบ้าน เรียกว่าประเพณีผีตาโขน และความสัมพันธ์ที่บ่งบอกถึงความมีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา ด้วยเหตุที่ภาคอีสานนั้น เป็นศูนย์รวมของวัฒนธรรมเก่าแก่ที่สืบเนื่องกันมาแต่โบราณ และชาวอีสานก็ยังเป็นผู้รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างเคร่งครัด มั่นคงในพุทธศาสนา และมีความเชื่อต่อวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่เคยเคารพนับถือในสิ่งศักดิ์สิทธ์คู่บ้านคู่เมืองว่า สิ่งที่เป็นมงคลทั้งหลายเหล่านี้ จะนามาซึ่งความสุขสงบ ความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร และความเจริญรุ่งเรืองแก่ชีวิตและท้องถิ่นได้ จึงมีการทาบุญกันเป็นประจาทุกเดือน โดยมีชื่อเรียกประเพณีนี้ว่า “ฮีตสิบสอง” หมายถึงประเพณีทาบุญสิบสองเดือน คาว่า “ฮีต”หรือ “รีต” แปลว่า “ประเพณี” ที่เนื่องด้วยศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา ซึ่งคนอีสานถือว่ามีคุณค่าต่อชีวิต ใครประพฤติฝ่าฝืนหรืองดเว้น ไม่กระทาตามที่กาหนดไว้ ก็ถือว่าเป็นคนไม่ดีและไม่เป็นที่ยอมรับ ส่วนประเพณีผีตาโขนนั้น เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวจังหวัดเลย ที่หลอมรวมเข้ากับประเพณีฮีตสิบสองของชาวอีสาน เป็นเรื่องของความเชื่อ ในพระพุทธศาสนาและประเพณีนิยมพื้นบ้าน ที่สมาชิกในสังคมจะได้มีโอกาสทาบุญร่วมกันในชุมชน เป็นประจาทุกๆ เดือนของปี และได้สนุกสนานรื่นเริงไปในเวลาเดียวกันด้วย ผลที่ได้รับก็คือ ทาให้มีโอกาสได้พบปะแลรู้จักมักคุ้นกัน ทุกคนจะมีเวลาเข้าวัด ทาบุญและปฏิบัติธรรม ด้วยศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนาเพื่อให้เกิดสิริมงคลสาหรับชีวิตยิ่งๆขึ้นไป ทั้งยังทาให้เห็นว่าวัฒนธรรมพื้นบ้านเหล่านี้ทรงคุณค่าอย่างยิ่งต่อสังคมไทยอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เจริญ ตันมหาพราน. 309 พิธีกรรมพิสดาร เล่ม 1.แสงแดด: 2536. หน้า 36.
ธนพล จาดใจดี.เรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับประเทศไทย.อ้างใน ภาพิมล สีไหมและ เสรี พิจิตรศิริ.การส่งเสริมประเพณีชักพระของเทศบาลตาบลวัดประดู่.วารสารการบริหารท้องถิ่น, ปีที่ 4 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม – ธันวาคม) พ.ศ. 2554.
ธิดา โมสิกรัตน์ และจานงค์ ทองประเสริฐ. ศาสนาและพิธีกรรมของไทย. เอกสารการสอนชุดวิชาไทยศึกษาหน่วยที่ 8-15.นนทบุรี.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2545.
ปราณี วงษ์เทศ. การละเล่นและพิธีกรรมในสังคมไทยในวัฒนธรรมพื้นบ้าน:คติความเชื่อ. กรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. 2530.
ปาริชาต เรืองวิเศษ. “งานประเพณี ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่” ชองชาวเลย” เลย. กรุงเทพมหานคร: สารคดี.2539.
วิวัฒน์ พันธวุฒิยานนท์. คนนอก กรุงเทพมหานคร: สารคดี. 2544, หน้า 64.
สาร สาระทัศนานันท์. เรื่องโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมท้องถิ่น. เลย. วิทยาลัยครูเลย. 2518.
สาร สาระทัศนานันท์. เมืองเลยของเราในมรดกไทย. เลย: รุ่งแสงการพิมพ์. 2534.
สุทัศน์พงษ์ กุลบุตร. ประเพณีพิธีกรรมเกี่ยวกับพระธาตุศรีสองรัก อ.ด่านซ้าย จ.เลย. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.มหาสารคาม. 2536.