การใช้กลอุบายของวัสสการพราหมณ์ในพระพุทธศาสนาและอุยกายในวรรณกรรมสามก๊กในโกศล 3 ประการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้กลอุบายของวัสสการพราหมณ์ในพระพุทธศาสนาและอุยกายในวรรณกรรมสามก๊กในโกศล 3 ประการ จากการศึกษา พบว่า การใช้อุบายนั้น สามารถจัดเป็นโกศลทั้ง 3 ได้ดังนี้ 1. อายโกศล ในแง่มองว่าเป็นการนำเอาความฉลาดไปใช้ในความเจริญ อุกายและวัสสการพราหมณ์ สามารถนำความรู้และสติปัญญาของตน มาสร้างความเจริญให้แก่ฝ่ายของตน 2. อปายโกศล มองในแง่การสูญเสีย ฝ่ายโจโฉและเมืองไวสาลี ย่อมไม่เกิดประโยชน์จากการกระทำของฝ่ายจิวยี่และพระเจ้าอชาตศัตรู เพราะฝ่ายโจโฉและเมืองไวสาลี เป็นฝ่ายถูกกระทำจากการนำเอาสติปัญญาของวัสสการพราหมณ์และอุยกายมาสร้างความเสียหายให้แก่ตน 3. อุปายโกศล ความฉลาดในการแก้ไขปัญหา ผลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส หากเน้นชัดในเรื่องนี้ ทำให้เห็นว่า ทั้งวัสสการพราหมณ์และอุยกาย มีความเด่นชัดในเรื่องการใช้สติปัญญาของตนในการแก้ไขปัญหา ตั้งแต่การวิเคราะห์อะไรคือปัญหา อะไรคือสาเหตุทำให้เกิดปัญหา หนทางนำไปสู่การแก้ไขปัญหา และการหาทางออกของปัญหา จนเป็นเหตุทำให้การใช้อุบายของวัสสการพราหมณ์และอุยกายก็สำเร็จด้วยดี
Article Details
References
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิกกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2542. มหามกุฎราชวิทยาลัย. พระสูตรและอรรถกถาแปล.โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2525. เจ้าพระยาพระคลัง (หน). สามก๊ก.บริษัท เดอะ บุ๊คส์ เลิฟเวอร์ จำกัด. 2547. อธิเทพ ผาทา. กุศโลบาย: ศึกษาการใช้ปัญญาเพื่อการแก้ไขปัญหาที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท.
ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น, 2546
พระมหาพงษ์ประภากรณ์ วิสุทธิญาณเมธี. การใช้อุบาย. พะเยา: เจริญอักษรการพิมพ์, 2561. Domien Keown. Contemporary Buddhist Ethics. London: Curzon Press, 2000. Richard A Gard (Edited). Buddhism. New York: George Braziller, 1962.