การบูรณาการหลักพุทธจิตวิทยากับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริม สุขภาวะองค์รวมของครอบครัวและสังคม

Main Article Content

พระมหาไกรสร โชติปญฺโญ

บทคัดย่อ

                การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวม ของครอบครัวและสังคมเพื่อบูรณาการพุทธจิตวิทยากับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวม ของครอบครัวและสังคม และเพื่อวิเคราะห์แนวทางการประยุกต์ใช้พุทธจิตวิทยาบูรณาการ ในการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของครอบครัว และสังคมโดยผู้วิจัยได้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่ใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง ประกอบด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) ครอบครัวในพื้นที่ ผู้นาชุมชนรวมถึงการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความมั่นคงของครอบครัว ซึ่งผู้วิจัยจะทาการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purpose Sampling) จานวน 24 คน ในพื้นที่ชุมชนต้นแบบทั้ง 4 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคตะวันตกเพื่อหาลักษณะร่วม (Common Character) และข้อสรุปร่วม (Common Conclusion) และการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) แนวทางการบูรณาการหลักพุทธจิตวิทยากับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของครอบครัวและสังคม
               ผลการวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นปัจจัยสาคัญของการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของครอบครัวและสังคมที่ประกอบไปด้วยภูมิปัญญาด้านการดารงชีวิตตามสภาพแวดล้อม ด้านคติความเชื่อและศาสนา ด้านวัฒนธรรมประเพณีด้านการจัดเครือข่ายระบบความสัมพันธ์และด้านสุขภาวะภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านี้สามารถบูรณาการกับหลักพุทธธรรมหรือการบูรณาการพุทธจิตวิทยาที่ก่อให้เกิดคุณค่าและความดีงามในการดารงชีวิตและวิถีชุมชนให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติและสภาวะแวดล้อมได้อย่างสมดุลซึ่งนาไปสู่แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธจิตวิทยา ภายใต้ปัจจัยและเงื่อนไขทางสังคมเพื่อให้สอดคล้องกับบริบท และภูมิปัญญาท้องถิ่นประกอบไปด้วยหลักไตรสิกขาที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างคนในครอบครัว และสังคมให้มีสุขภาวะหลักอริยมรรคที่มุ่งเน้นให้ก่อเกิดความประพฤติโดยชอบในการดารงชีพหลักสังคหวัตถุ ที่มุ่งเน้นให้มีส่วนร่วมและความมีจิตอาสาในการเสริมสร้างสุขภาวะและหลักอริยสัจที่มุ่งเน้นให้ครอบครัวและสังคมรู้เท่าทันในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อนาไปสู่การส่งเสริมสุขภาวะตามหลักภาวนา 4 ได้แก่ กายภาวนาความมีสุขภาพที่แข็งแรง การดูแลป้องกันโรคภัยไขเจ็บ จิตตภาวนาความมีจิตใจสงบสุข สีลภาวนาความดารงชีพโดยชอบ และปัญญาภาวนาความรู้เท่าทันในสิ่งที่เกิดขึ้นและสามารถนาภูมิปัญญาท้องถิ่นบูรณาการกับพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของครอบครัวและสังคมต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา และคณะ. สุขภาพคนไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์พริ้นตั้งแอนด์พับลิสึ่งจากัด, 2554
ธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุคตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 8 กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราวิทยาลัย, 2539
ประเวศ วะสี. บนเส้นทางใหม่ส่งเสริมสุขภาพอภิวัฒน์ชีวิตและสังคม. กรุงเทพมหานคร: หมอชาวบ้าน, 2547
พระไตรปิฎก. ณวมพุทธ. กรุงแทพมหานคร: บริษัท หนังสืออิเล็กทอนิกส์ จากัด, 2541
พระไพศาล วิสาโล. สุขภาวะองค์รวมทางพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: มปท., 2550
พุทธทาสภิกขุ. กามารมณ์กับชีวิต. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์สุขภาพใจ, 2542
อรศรี งามวิทยาพงษ์. การพัฒนาสังคมยุคปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ลักษณ์, 2551