สัปเหร่อ: การสืบสานคติ ความเชื่อและพิธีกรรมงานศพในเขตเทศบาล ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

Main Article Content

พระมหานฤดล มหาปญฺโญ
สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์
อาภากร ปัญโญ

บทคัดย่อ

               การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาคติ ความเชื่อและพิธีกรรมงานศพในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาพิธีกรรมงานศพในวัฒนธรรมล้านนา 3) เพื่อศึกษาการสืบสานคติ ความเชื่อ พิธีกรรมงานศพของสัปเหร่อที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของประชาชนในเขตเทศบาลตาบลบ่อแฮ้ว อาเภอเมือง จังหวัดลาปาง โดยวิจัยเชิงเอกสารและเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกพระสังฆาธิการ มัคคนายกในท้องถิ่น ผู้นาในท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้สูงอายุ จานวน 34 รูป/คน เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการสืบสานคติ ความเชื่อ พิธีกรรมงานศพกับบทบาทสัปเหร่อ
               ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
               ความเชื่อและพิธีกรรมงานศพได้รับอิทธิพลจากประเทศอินเดีย เพื่อส่งดวงวิญญาณของผู้ตายไปสู่สวรรคาลัย จากการเผาและปัดเศษเถ้ากระดูกผู้ตายลงแม่น้าคงคา จนเกิดธรรมเนียมนิยมการทาฌาปนกิจศพและลอยเถ้ากระดูก (ลอยอังคาร) พิธีกรรมงานศพเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีแก่ผู้จากไปที่เรียกว่า “ทักษิณาทาน” โดยสามารถแบ่งพิธีกรรมออกเป็น 4 อย่าง คือ 1) พิธีกรรมในวันตาย 2) พิธีกรรมในวันตั้งศพบาเพ็ญกุศล 3) พิธีกรรมในวันฌาปนกิจศพ 4) พิธีกรรมหลังวันฌาปนกิจศพ และถือปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนาน
               วัฒนธรรมล้านนาได้แบ่งลักษณะพิธีกรรมงานศพตามชั้นชนไว้ 3 ลักษณะ คือ 1) การจัดพิธีศพเจ้านายชั้นสูง 2) การจัดพิธีศพพระสงฆ์ 3) การจัดพิธีศพสามัญชน โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งดวงวิญญาณผู้วายชนม์ไปสู่สุคติตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ซึ่งการจัดพิธีศพเจ้านายและพระสงฆ์จะตั้งสรีระร่างผู้ตายลงบนปราสาทศพที่สูงใหญ่งดงามแตกต่างสามัญชน ปัจจุบันการจัดพิธีกรรมงานศพมีลักษณะไม่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเจ้าภาพต้องการจัดพิธีกรรมรูปแบบใด แต่พิธีกรรมต้องไม่ขัดกับหลักจารีตประเพณีดั้งเดิม จากการศึกษาพบว่าแนวทางและรูปแบบการสืบสานคติ ความเชื่อและพิธีกรรมงานศพของสัปเหร่อที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของชุมชน ประกอบด้วย 1) ความเชื่อ การสงเคราะห์ผู้ตาย 2) ความไว้วางใจ การยอมรับและไว้ใจของชุมชน 3) รายได้ เป็นแรงจูงใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ 4) การสืบต่อ เป็นการถ่ายทอดความรู้สู่เชื้อสายและผู้ที่มีความสนใจ
                ดังนั้น การสืบสานคติ ความเชื่อและพิธีกรรมงานศพในวัฒนธรรมล้านนา จึงจาเป็นที่จะต้องตระหนักและสร้างคุณค่าการเป็นสัปเหร่อ ที่ประกอบด้วยความรู้ทางพิธีกรรม การบริหารจัดการขั้นตอนตามขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อสร้างความเป็นอัตลักษณ์และจรรโลงไว้ซึ่งประเพณีอันดีงามของชุมชนสืบต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ม. อุ. (ไทย) 3/189.
ทวีศักดิ์ วรฤทธิ์เรืองอุไร, “สัปเหร่อกับการจัดการศพของชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนมอญ ริมแม่น้าแม่กลอง อาเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี”, วิทยานิพนธ์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา, บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548
ธีรานันโท (นามแฝง), การตายและพิธีการทาบุญศพ, กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์ดวงแก้ว, 2544
นิเทศ ตินณะกุล, การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
ปราณี วงษ์เทศ, พิธีกรรมที่เกี่ยวกับการตายในประเทศไทย, กรุงเทพมหานคร: บริษัทอัมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ป จากัด, 2534
แปลก สนธิรักษ์, พิธีกรรมและลัทธิประเพณี, พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลไทยวัฒนาพานิช, 2504 พระชาญชัย ชยเมธี (คาวิชัย),“บทบาทของสัปเหร่อที่มีต่อพิธีงานศพกรณีศึกษาในเขตเทศบาลตาบลหลวงใต้ อาเภองาว จังหวัดลาปาง”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2556.
พระอธิการเด่นชัย ภูริปญฺโญ การศึกษาวิเคราะห์ประวัติความเป็นมา ประเพณีและพิธีกรรมเกี่ยวกับวิญญาณ ภูตผีของชนชาติพันธุ์บีซู บ้านดอยชมภู หมู่ทึ่ 7 ตาบลโป่งแพร่ อาเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2553).
พหล แก้วเขียว, ฌาปนกิจ, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหธรรมิก จากัด, 2545
หลวงวิจิตรวาทการ, ศาสนาสากล เล่ม 1, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ลูก ส.ธรรมภักดี, 2532