การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของผู้ต้องขังในทัณฑสถาน ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท

Main Article Content

บุญร่วม คำเมืองแสน

บทคัดย่อ

             งานวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวพระพุทธศาสนา 2. เพื่อศึกษาถึงกระบวนการการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท 3. เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพระพุทธศาสนเถรวาทโดยได้เลือกผู้ให้ข้อมูล จานวน 8 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคลและอุปกรณ์อื่นๆ แล้วตรวจความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
             ผลการวิจัย พบว่า มนุษย์ตามแนวพระพุทธศาสนาประกอบไปด้วยธาตุ 4 ขันธ์ 5 มีศักยภาพที่แตกต่างกันและความต้องการที่คล้ายคลึงกันได้แก่ ความต้องการอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยยารักรักษาโรคเป็นปัจจัยพื้นฐาน นอกจากนั้นยังมีความต้องการทางด้านสวัสดิการ ด้านความรัก ด้านความนับถือ ด้านพัฒนาศักยภาพของตนเอง ด้านกระบวนการการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวพุทธปรัชญา เถรวาทของเรือนจาบางขวาง ได้แก่ “นโยบายห้าก้าวย่าง” ย่างที่หนึ่ง การควบคุม ปราบปรามยาเสพติด โทรศัพท์มือถือและสิ่งของต้องห้ามในเรือนจา ย่างที่สอง การจัดระเบียบวินัยเรือนจา “วินัยเข้ม สะอาด เป็นระเบียบ สวยงามทุกตารางนิ้ว” ย่างที่สาม การฝึกวินัยผู้ต้องขัง ย่างที่สี่ พัฒนาจิตใจด้วยหลักสูตรสัคคสาสมาธิ ย่างที่ห้า การสร้างการยอมรับจากสังคม ซึ่งสอดคล้องกับหลักไตรสิกขาตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทและด้านรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพระพุทธศาสนาเถรวาทของเรือนจากลางบางขวาง เป็นเรือนจาระดับความมั่นคงสูง ภารกิจของเรือนจาคือการขัดเกลานิสัยให้ดีงามโดยใช้กิจกรรมต่างๆ ในการพัฒนาผู้ต้องขังทั้งกิจกรรมที่พัฒนาทางร่างกาย เช่น มีสถานที่ออกกาลังกาย ใครชอบกีฬาประเภทไหนก็ฝึกตามประเภทนั้นๆ ในแต่ละปีจะมีการแข่งขันกีฬาสีของเรือนจาและมีสถานที่บาบัดยาเสพติด ส่วนการพัฒนาจิตใจมีการอบรมตามหลักสูตรสัคคสาสมาธิ หลักสูตรมัคคนายก การจัดกิจกรรมในวันสาคัญทางพระพุทธศาสนา เช่นทาบุญตักบาตร ฟังเทศน์ รวมถึงกิจกรรมสวดมนต์ธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร กิจกรรมสวดมนต์ชินบัญชร หรือกิจกรรมวันสาคัญของชาติ เช่นวันพ่อแห่งชาติ วันแม่แห่งชาติ เรือนจามีกิจกรรมวันพบญาติ เป็นกิจกรรมที่ทาให้ญาติกับผู้ต้องขังมีความใกล้ชิดกันทั้งลูกหลาน ญาติพี่น้องพบปะกันในเรือนจา เป็นการพัฒนาอารมณ์ของผู้ต้องขังได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขุ. ธ. 25/33/57.
ขุ.ธ. 25/33/48.
ส . นิ. 16/724/321.
องฺ . ปญฺจก. 22/314/357.
ธนกฤต นาคศรี, “การศึกษาความเข้าใจเรื่องหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เถรวาทของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียน นวมินทรานูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล”, สารนิพนธ์ ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2549.
บุญตัน หล้ากอง, “การพัฒนาชุมชนในพุทธศาสนา”, วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2532.
บุญส่ง ฉางแก้ว, “การศึกษาวิเคราะห์เรื่องการไม่คบคนพาลในพระพุทธศาสนา”, สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2549.
พระเทพเวที (พระยุทธ์ ปยุตฺโต). พุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัทสหธรรมิก จากัด, 2536
สมมารถ ลิขิตานนท์, “ความตระหนักรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนกาวิละวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ในการปฏิบัติตามมงคลสูตร คาถาที่ 1”, สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2549.
เสาวรีย์ ตะโพนทอง และกุลกัญญา ณ ป้อมเพ็ชร, “พฤติกรรมการนาศีล 5 ไปใช้ในชีวิตประจาวัน ของนิสิตนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษารัฐบาลในกรุงเทพมหานคร”, วารสารสมาคมนักวิจัย, กรุงเทพมหานคร: ส่วนผลิตวารสารสมาคมนักวิจัย, 2549