ศึกษาการเรียนรู้ของชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในจังหวัดลำปาง

Main Article Content

พระครู สุตชยาภรณ์

บทคัดย่อ

               การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้ของชุมชนที่มีความสำเร็จในอาชีพและใช้วิเคราะห์และเสนอรูปแบบที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ของชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดลำปาง ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสาน ระหว่างวิธีวิจัยเชิงปริมาณ และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพมีส่วนร่วมในการเรียนรู้จากประชาชนที่มีการดำเนินงานเกี่ยวข้องกับแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดลำปาง
ผลการวิจัย พบว่า
              1) หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตั้งอยู่บนฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาทพอประมาณ มีเหตุผลสร้างภูมิคุ้มกันความรู้ ความรอบคอบ และมีคุณธรรม ประกอบการวางแผนการตัดสินใจ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม สรุปได้ว่า หลังเข้าร่วมกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นในด้านการเรียนรู้ทักษะการพึ่งตนเอง การรู้จักความพอดีที่ไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น
              2) ชุมชนใช้กิจกรรมกลุ่มทั้งหมดมาเรียนรู้โดยใช้ทุนทางสังคม ธรรมชาติ วัฒนธรรม และภูมิปัญญา นำองค์ความรู้ จากผู้รู้ มาสร้างกระบวนการเรียนรู้หลากหลายนำมาปรับปรุง แล้วนำองค์ความรู้มาเป็นแบบอย่างความสำเร็จ สร้างจิตสำนึกร่วมกับชุมชน
              3) รูปแบบที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ของชุมชนคือมีกระบวนการเรียนรู้ที่ประกอบด้วยการสร้างเวทีแห่งการเรียนรู้สร้างเครือข่ายทางสังคม สร้างกระบวนการเรียนรู้ใหม่ มีการปรับปรุง มีความพร้อมเพียงของหมู่คณะพึ่งตนเองได้มีหลักการสร้างคุณธรรม เรียนรู้หลักสมชีวิตา มีเมตตาหลักธัมมัญํุตาหลักอัตถัญํุตา และหลักปฏิสันถารคารวตา หลักโยนิโสมนสิการหลักธัมมานุธัมมปฏิบัติหลักมัชฌิมาปฏิปทาและหลักขันติหลักมัตตัญํุตา หลักอัตถจริยา และหลักวิมังสาเคารพกันไม่ลบหลู่ดูหมิ่น รู้จักดูแลสุขภาพทางกายและจิตใจของตนเอง สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพนำเอาสิ่งที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาให้กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้ คิดแล้วลงมือทำเป็นทีมและหากมีการฝึกทักษะการปฏิบัติจริงเช่นนี้ จะทำให้ชีวิตมีทางเลือก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร ฉิมพลี ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องจักรสาน:กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา ดุษฏีนิพนธ์.คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม:สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. 2555.
ประเวศ วะสี. เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคมแนวทางฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม, กรุงเทพมหานคร:หมอชาวบ้าน, 2542.
ปิยนุช ยอดสมสวน และสุพิมพ์ สงค์ทองแท้,การศึกษาภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้านในอาเภอองครักษ์จังหวัดนครนายก,รายงานการวิจัย. คณะสหเวชศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ, 2552.
พัชรี วรกวิน. จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพมหานคร: สถานสงเคราะห์หญิงปากเกร็ด , 2522.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. 2552.
เพ็ญศรี เปลี่ยนขำ. วิถีการดาเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง.วารสารวิชาการ ราชภัฏตะวันตก. ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 กรกฎาคม-ธันวาคม. 2550. ตามรอยพระราชดำริสู่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง.กรุงเทพมหานคร: ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.
วรนุช อุษณกร. ในหลวงผู้ทรงพระอัจฉริยภาพ. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์. 2544.
ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น. สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้าทางรายได้. [ออนไลน์].แหล่งข้อมูล: www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/jan_mar_/pdf/aw01.pdf,[11 พ.ย. 2560].
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. จากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่
สุโท เจริญสุข. หลักจิตวิทยาและพัฒนาการของมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แพร่พิทยา. 2535.
เสรี พงศ์พิศ. 100 ร้อยคาที่ควรรู้. กรุงเทพมหานคร: เจริญวิทย์การพิมพ์. 2547.
อรุณ รักธรรม.หลักมนุษยสัมพันธ์กับการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2547.
Likert, The Human Organization. (New york: Mcgraw-Hill company), 1970 : 608-610.
Robrt V. Krejcie and Earyle W. Morgan. Educational and Psychological Measurement,1970.