การพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารเชิงนาฏการในการเผยแผ่พุทธพจน์

Main Article Content

กนกรัชต์ เก่าศิริ
อนันต์ อุปสอด

บทคัดย่อ

               การพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารเชิงนาฏการในการเผยแผ่พุทธพจน์เป็นผลงานวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้กิจกรรมทางการสื่อสารเชิงนาฏการมาใช้ในการหนุนเสริมการเผยแผ่ พุทธพจน์ ซึ่งเป็นพระธรรมคาสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสู่สังคม โดยได้ศึกษาจากกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม ดังนี้
              กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านศาสนาและทางด้านนาฏการ กลุ่มที่ 2 บุคคลทั่วไปที่เป็นคนใน คือ นักบวชในพระพุทธศาสนาและคนนอก คือ บุคคลทั่วไปที่ไม่ได้บวช และ กลุ่มที่ 3 กลุ่มเยาวชน
             ด้วยการใช้วงจรเดมิ่ง (Deming Cycle) มาประยุกต์ใช้ในการวิจัยเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในกระบวนการวิจัย
              สรุปผลการวิจัย
             1. การนาหลักพุทธธรรมเสนอผ่านสื่อนาฏการ เป็นการเพิ่มรสชาติของวรรณกรรมให้เกิดความสุนทรีย์แต่ถ้าหากไม่มีการคัดกรอง และวิเคราะห์ให้ดี อาจเป็นสาเหตุให้ผู้รับสารลุ่มหลงในรูป รส เสียง ผลของการสื่อสารจะไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์
             2. การผลิตสื่อเชิงนาฏการต้องใช้ผู้มีฝีมือ และผู้มีประสบการณ์ทางด้านดนตรี การร้อง และการแสดงมาทาการบูรณาการจึงจะทาให้ผลงานมีความสมบูรณ์
             3. งานลักษณะนี้เป็นการเผยแผ่พุทธพจน์ในรูปนวัตกรรมสมัยใหม่ แต่การนาเสนอในรูปแบบนาฏการ ที่เน้นการเป็นนาฏศิลป์ไทย ผู้ชมต้องมีความรู้ด้านนาฏศิลป์ไทย การชมจึงจะได้อรรถรส และเกิดสุนทรียรส อันเป็นการยากแก่ความเข้าใจในคนทั่วไป จึงอาจจะทาให้สื่อชนิดนี้จากัดกลุ่มผู้รับสาร
             4. การผลิตสื่อธรรมะ ของพระพุทธองค์ที่จะนาเสนอแก่เยาวชน ควรจะทาให้เป็นเรื่องสนุกสนาน น่าติดตาม เข้าใจง่าย และผลิตสื่อให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก แล้วนาบรรจุไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนและในทาการวิจัย พบว่า การผลิตสื่อในการสื่อสาร สาระของสาร และสื่อที่ใช้ต้องเหมาะสมกับวัยประสบการณ์ และภูมิหลังของผู้รับสาร เพื่อให้งานวิจัยเกิดประโยชน์ตามที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระมหาประสิทธิ อุตฺคมจิตโต, สดับธรรม ธรรมฉบับเร่งรัด, ม.ป.ท.
หนังสือรวมงานนิพนธ์ของ ศ.พระยาอนุมานราชธน (เสถียรโกเศศ) หมวดศิลปะและบันเทิง, หน้า 51.