การจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง ACTIVE LEARNING ร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์

Main Article Content

บุญฤดี อุดมผล

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครู 2) ออกแบบและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางActive Learning ร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครู 3) ทดลองใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning ร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครู โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัย และพัฒนา มีการดาเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นที่ 2 พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3การทดลองใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 4 ประเมินผล กลุ่มตัวอย่างใน ได้แก่นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไปชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทาที่กาลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จานวน 25 คน โดยใช้วิธีการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) คู่มือการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning ร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา 2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning ร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา 3) แบบประเมินความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ 4) แบบประเมินความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ 5) แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ 6)แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา


              ผลการวิจัย พบว่า
             1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางActive Learningร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา เป็นพื้นฐานสาคัญในการพัฒนาความสามารถในการออกแบบ การจัดการเรียนรู้และส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นครู โดยทุกฝ่ายและผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะหน่วยผลิต และผู้ใช้บัณฑิตครู เห็นความสาคัญในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning ร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของ นักศึกษาครู
             2. ผลการพัฒนาได้กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning ร่วมกับแนวคิด จิตตปัญญาศึกษา การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน คือ 1)ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2)ขั้นออกแบบและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ 3) ขั้นเสริมสร้างประสบการณ์ 4) ขั้นสะท้อนข้อมูลหลังการใช้การจัดการเรียนรู้ และขั้นตอนการนากระบวนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ในห้องเรียน ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) จุดประกายยั่วยุความคิด 2) ร่วมออกแบบการจัดการเรียนรู้ 3) ทดลองปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ 4)สะท้อนคิด 5) สรุปการเรียนรู้เชื่อมร้อยความคิด 6) ปรับปรุงแก้ไขพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้
            3. ประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning ร่วมกับแนวคิดการศึกษาผ่านการเรียนรู้และ จิตตปัญญาศึกษา พบว่าหลังการทดลองใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทางActive Learningร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ที่พัฒนาขึ้น 1) นักศึกษาครูมีความสามารถ ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) นักศึกษาครู มีคุณลักษณะความเป็นครู ตระหนักรู้ในตนเองทางานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและมีทักษะการแก้ปัญหาสูงขึ้น อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning ร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกอร ติ๊บหลาน. การใช้กิจกรรมที่สอดแทรกแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2554.
นฤมล เอนกวิทย์. การพัฒนาหลักสูตรจิตตปัญญาศึกษาสาหรับนักศึกษาพยาบาล.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2552.
นฤมล อินทร์ประสิทธิ์. การศึกษาชั้นเรียน(Lesson Study): นวัตกรรมเพื่อพัฒนาครูและนักเรียน.วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2552.
นัสรินทร์ บือซา. ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชีววิทยา ความสามารถในการแก้ปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร, 2558.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. รายงานการสังเคราะห์การบริหารจัดการงานวิชาการในสถานศึกษาที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach).ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, 2554.
สมหมาย ปวะบุตร. การจัดกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างจิตสานึกความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2559.
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. แนวทางการดาเนินงานการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจากัด.2551.
สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. กรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษา ในช่วงแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษา แห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2559) ฉบับสรุป. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2551.