การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติของนิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาวิชารัฐศาสตร์ วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง: ด้วยทฤษฎีการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงของธอร์นไดค์

Main Article Content

ธีระวัฒน์ แก้วลังกา
ลินดา พัฒนพงษ์

บทคัดย่อ

               Active Learning เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทาและได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทาลงไป เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้สมมติฐานพื้นฐาน 2 ประการคือ 1) การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์ และ 2) แต่ละบุคคลมีแนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน โดยผู้เรียนจะถูกเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับความรู้ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ Active Learning เป็นกระบวนการเรียนการสอนอย่างหนึ่ง แปลตามตัวก็คือเป็นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ หรือ การลงมือทาซึ่ง ” ความรู้ “ที่เกิดขึ้นก็เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ กระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องได้มีโอกาสลงมือกระทามากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว ต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้การเรียนรู้โดยการอ่าน, การเขียน, การโต้ตอบ, และการวิเคราะห์ปัญหา อีกทั้งให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่ การวิเคราะห์, การสังเคราะห์, และการประเมินค่าหากเปรียบความรู้เป็นกับข้าว อย่างหนึ่งแล้ว Active learning ก็คือ ” วิธีการปรุง ” กับข้าวชนิดนั้น ดังนั้นเพื่อให้ได้กับข้าวดังกล่าว เราก็ต้องใช้วิธีการปรุงอันนี้แหละ แต่ว่ารสชาติจะออกมาอย่างไรก็ขึ้นกับประสบการณ์ความชานาญ ของผู้ปรุงนั่นเอง (ส่วนหนึ่งจากผู้สอนให้ปรุงด้วย)เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยการร่วมมือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ในการนี้ ผู้สอนต้องลดบทบาทในการสอนและการให้ข้อความรู้แก่ผู้เรียนโดยตรงลง แต่ไปเพิ่มกระบวนการและกิจกรรมที่จะทาให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการจะทากิจกรรมต่างๆ มากขึ้น และอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยการพูด การเขียน การอภิปรายกับเพื่อนๆ และการศึกษาจากของจริง ลงไปปฏิบัติในพื้นที่จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทิศนา แขมมณี และคณะ. กิจกรรมการสอนและฝึกทักษะกระบวนการกลุ่มสาหรับนักเรียน.กรุงเทพมหานคร: บพิตรการพิมพ์. 2536.
ธีระยุทธ โพธิ์ทอง. ทฤษฎีความสันพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดน์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา, https://sites.google.com/site/thirayutg22/thvsdi-kar-reiyn-ru/thvsdi-khwam-samphanth-cheuxm-yong-khxng-th-xrn-din. [16 กุมภาพันธ์ 2560].
ประจวบ เพิ่มสุวรรณ. ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนโดยใช้วิธีกรณีศึกษา.[ออนไลน์]. แหล่งที่มา:http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/epaper/may_july2010/pdf/page37.pdf. [1 มีนาคม 2560].
สาธร หวังทรัพย์. การประสบความสาเร็จจากการคาดหวังผลการเรียนรู้. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/47931771/chapter2.pdf. [9 มีนาคม 2560]
สุพิน บุญชูวงศ์. หลักการสอน. กรุงเทพมหานคร: ร.พ. แสวงสุทธิการพิมพ์. 2536. แหล่งที่มา:
Davies M. High Educ. Concept mapping, mind mapping and argument. [ออนไลน์] https://link.springer.com/article/10.1007/s10734-010-9387-6. [28 กุมภาพันธ์ 2560]
Pamela Baxter, Susan Jack. Qualitative Case Study Methodology: Study Design and Implementation for NoviceResearchers. Retrieved, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://nsuworks.nova.edu/tqr/vol13/iss4/2/?utm_source=nsuworks.nova.edu%2Ftqr%2Fvol13%2Fiss4%2F2&utm_medium=PDF&utm_campaign=PDFCoverPages. [1 มีนาคม 2560].