พฤติกรรมการใช้สื่อของเด็กยุคศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
สื่อมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตและค่านิยมของคนทุกเพศวัยการศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อแบบภาคตัดขวาง ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายและมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองอุ่มหวายสามัคคี อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม จานวน 60 คน เดือนมิถุนายน 2560 พบว่า 53% เป็นชาย ส่วนใหญ่ครอบครัวมีอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้าง อาศัยอยู่กับบิดา มารดาได้รับค่าใช้จ่ายเป็นค่าขนมเฉลี่ยวันละ 30 บาท ด้านพฤติกรรมการใช้สื่อ พบว่า 65% ใช้เวลาว่างในการเล่นเกมส์ เฟสบุค ดูโทรทัศน์และช่วยพ่อแม่ทางานเพียง 25 % เกือบครึ่งไม่ชอบอ่านหนังสือ ถ้าอ่านจะเป็นหนังสือการ์ตูน และรับรู้ว่าเกือบทุกครอบครัวมีโทรศัพท์มือถืออย่างน้อย 1 เครื่อง 78% มีและใช้ในช่วงเช้าหรือก่อนนอน 30% ใช้ขณะรับประทานอาหาร ทาการบ้าน ครึ่งหนึ่งใช้วันละไม่เกิน 3 ชั่วโมง 31%ใช้ 3-5 ชม./วัน แต่ใช้ค้นงานหรือโทรไม่ถึง 10% ส่วนการใช้อินเตอร์เนต เกือบทั้งหมดใช้ในการเล่นเกมส์ แชท ดูหนังฟังเพลง มี 6% ใช้ดูภาพโป๊ 90% ยอมรับว่าติดเกมส์ เมื่อประเมินทัศนคติพบว่า 83% มีทัศนคติเชิงบวกระดับปานกลาง ส่วนทักษะในการใช้สื่อ พบว่า 63% ไม่ทราบว่า รหัสอีเมล์ต้องเก็บเป็นความลับ กว่า 80% สามารถค้นหาศัพท์ภาษาอังกฤษได้ ส่วนข้อมูลด้านสุขภาพ สนใจเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ ความงามและการลดน้าหนัก และข้อมูลในเฟสบุคเชื่อว่าจริง 50% และมีอิทธิพลต่อคนทุกเพศวัยมากถึงมากที่สุด (61%) โดยมีผลดีกับผลเสียพอๆกัน (40%) 42% สามารถวิเคราะห์สื่อได้ระดับปานกลาง เมื่อสมมติสถานการณ์เพื่อประเมินการตัดสินใจในการอ่าน/แชร์ พบว่า หากเป็นข่าวที่ไม่น่าเป็นไปได้ จะไม่สนใจและปิดเว็บนั้น แต่ถ้าคนแปลกหน้าคนไทยขอเป็นเพื่อน 73% จะกลัวและปฏิเสธ ถ้าเป็นชาวต่างชาติ จะเข้าไปค้นหาข้อมูลก่อนตัดสินใจ และถ้านัดออกมาพบหรือไปดูหนัง ทานข้าว เกือบทั้งหมดไม่ออกมาพบ โดยมีทั้งปฏิเสธทันที (68%) แต่ 20% ลังเลและถามรายละเอียดและผัดผ่อนไปก่อน ด้านสื่อโฆษณาอาหารเสริม ความงาม แม้ว่า 50% จะไม่เชื่อ แต่มีการค้นหาข้อมูลและแชร์ให้เพื่อนดู
ดังนั้น แม้บริบทของพื้นที่ศึกษาอยู่ชานเมือง แต่มีการเข้าถึงสื่อทุกแห่ง แม้จะสามารถค้นหา/ใช้เป็นและยังกลัว ไม่ไว้ใจคนแปลกหน้า แต่ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า สนใจอ่าน คุยและแชร์ให้เพื่อน โดยไม่ปรึกษาครู ผู้ปกครอง จึงมีโอกาสที่จะหลงเชื่อและถูกภัยสังคมหลอกให้พบ/ขายสินค้าอันตรายได้ ดังนั้นโรงเรียนและชุมชนควรมีการเฝ้าระวังและจัดกิจกรรมเสริมทักษะชีวิตให้เด็กตั้งแต่เด็กอนุบาลเพื่อให้มีการใช้อย่างพอเพียงมากที่สุด
Article Details
References
จินตนา ตันสุวรรณนนท์.ความสัมพันธ์ระหว่างการรู้เท่าทันสื่อโฆษณากับพฤติกรรมบริโภคนิยมของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.วารสารวิจัย มสด. สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 เลขหน้า 93-112 ปีพ.ศ. 2558
ภาณุวัฒน์ กองราช. พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของวัยรุ่นในประเทศไทย:กรณี Facebook.วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหารเทคโนโลยี. วิทยาลัยนวัตกรรมบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2554.
มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย. รู้เท่าทันสื่อ ICT. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2560 จากเว็บไซต์ http://www.inetfoundation.or.th/icthappy
วิลาสินี อดุลยานนท์. การเสวนาเรื่อง "เด็กเรียนรู้อย่างไรในยุคสื่อหลอมรวม" ในงานประชุมวิชาการอภิวัฒน์การเรียนรู้สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย. จัดโดยสานักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วมกับสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเครือข่ายเพื่อนปฏิรูปการเรียนรู้. 6-8 พฤษภาคม 2557
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. นิยามศัพท์ส่งเสริมสุขภาพ. ฉบับปรับปรุง แปลโดยพิสมัย จันทวิมล นนทบุรี. 2541. ไสว ฟักขาว. ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills). สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2560. จากเว็บไซต์ web.chandra.ac.th/blog/wp.../10/ทักษะแห่งศตวรรษที่-21-พับ.pdf
World Health Organization. Health Literacy and Health Promotion. Definitions, Concepts and Examples in the Eastern Mediterranean Region. Individual Empowerment Conference Working Document. 7th Global Conference on Health Promotion Promoting Health and Development. Nairobi, Kenya. 2009.