การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจฐานราก และประชารัฐในพื้นที่อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำ ปาง

Main Article Content

ธนกร สิริสุคันธา
รักษ์ศรี เกียรติบุตร
สุพัตรา วรรณสืบเชื้อ

บทคัดย่อ

              งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมและศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ในพื้นที่อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ประชากรคือผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในอำเภอแม่ทะ จำนวน 10,399 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 370 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อบรรยายคุณลักษณะของข้อมูลที่ศึกษา ประกอบด้วยจำนวนความถี่ (Frequency)ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ส่วนข้อมูลที่ได้จากแบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตและแบบบันทึกการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมและปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ ในการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหาสาระและหาความถี่ประกอบการบรรยาย


              ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 60-64 ปี สถานภาพสมรส วุฒิการศึกษาระดับประถมศึกษา มีภูมิลำเนาอยู่ที่ตำบลนาครัว มีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ยต่ำกว่า 10,000 บาท มีอาชีพหลักคือเกษตรกรรม ส่วนใหญ่อาศัยในชุมชน 36 ปีขึ้นไป โครงการเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ส่วนใหญ่คือโครงการด้านงานเกษตรโดยระดับการมีส่วนร่วมในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 2.81) จำแนกรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่การมีส่วนร่วมในด้านการรับผลประโยชน์ (= 2.90) การมีส่วนร่วมด้านความคิด การริเริ่มสร้างสรรค์ (= 2.84) การมีส่วนร่วมด้านการตัดสินใจ(= 2.80) การมีส่วนร่วมด้านการปฏิบัติงาน (= 2.80) และการมีส่วนร่วมด้านการติดตาม ประเมินผลและการรับผิดชอบในโครงการ(= 2.73)


              ด้านปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ในพื้นที่อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านบุคคล ประกอบด้วยพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่และการเข้าร่วมกิจกรรม 2) ปัจจัยด้านชุมชน คือกระบวนการ ที่เปิดโอกาสในการให้ข้อมูลย้อนกลับ การให้ข้อเท็จจริงและความคิดเห็นเพื่อประกอบการตัดสินใจ โดยเริ่มต้นจากสิ่งที่ชาวบ้านรู้และพัฒนาจากสิ่งที่มีอยู่แล้วในชุมชนและ 3) ปัจจัยด้านหน่วยงานราชการและองค์การที่ขับเคลื่อนนโยบาย ประกอบด้วย การยอมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน มีการดำเนินงานอย่างเป็นขั้นตอน การปรับบทบาทการปฏิบัติงาน ระเบียบและข้อบังคับที่ยืดหยุ่น รวมทั้งการหาปัจจัยสนับสนุนอื่นๆโดยจัดกิจกรรมหรือดำเนินโครงการครอบคลุมทั้งด้านจิตใจ ด้านวัตถุ ด้านสังคมและด้านการเมืองที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. ระบบสถิติทางการทะเบียน. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2560, จากเว็ปไซต์ http://stat.dopa.go.th/stat/.
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. แนวทางการดาเนินงานนโยบายสานพลังประชารัฐ ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ. กระทรวงมหาดไทย, 2560.
กรุณา ใจใส. ศักยภาพและพลังในการดารงชีวิตของผู้สูงอายุหญิง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสตรีศึกษา. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553.
กฤตศิลป์ อินทชัย. บทบาทผู้สูงอายุตาบลฟ้าฮ่ามต่อการพัฒนาท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2551.
คณะทางานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ. สานพลังประชารัฐ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จากัด, 2559. ฉวีวรรณ แก้วพรหม. ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างเครือข่ายทางสังคม และการสนับสนุนทางสังคม ที่รับรู้กับสุขภาพจิต ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร.กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530.
ทิพวรรณ สุธานนท์. การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการดาเนินชีวิตอย่างมีความสุขของผู้สูงอายุ, วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2556.
นพพรรณพร อุทโธ. บทบาทของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ที่มีต่อการพัฒนาชุมชน การศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมประเพณี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์ เพื่อการพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2552.
บริบูรณ์ พรพิบูลย์. โลกยามชราและการเตรียมตัวเพื่อเป็นสุข. เชียงใหม่: พระสิงห์การพิมพ์. 2528. ปัทมา สูบกาปัง และคณะ. การมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการนโยบายสาธารณะ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอ.พี.กราฟฟิคดีไซน์และการพิมพ์ จากัด, 2554.
รัชนี มิตกิตติ. การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน:บทบาทที่ท้าทายของพยาบาลชุมชน. วารสารสภาการพยาบาล. ปีที่ 31 ฉบับที่ 3. 2559.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. การบริหารจัดการและการบริหารการพัฒนาขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์นิติธรรม, 2548.
ศรีเรือน แก้วกังวาน. จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงอายุ เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545.
ศุภนันทา ร่มประเสริฐ. วัยสูงอายุกับความพร้อมในการรับมือของรัฐบาลไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ. ปีที่ 5 ฉบับที่ 10. 2557.
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. คู่มือการส่งเสริมการพัฒนา “ระบบเศรษฐกิจฐานราก”. สานักสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชนและสานักสื่อสารการพัฒนา, 2559.
สมโภชน์ อเนกสุข และกชกร สังขชาติ. รูปแบบการดารงชีวิตของผู้สูงวัยอายุเกิน 100 ปี จังหวัดชลบุรี.
วารสารศึกษาศาสตร์. ปีที่ 17 ฉบับที่ 1. 2548.
สฤษดิ์ มินทระ. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการศึกษาในสังคมไทย: แนวคิดปัญหา อุปสรรค แนวทางในอนาคต. เชียงใหม่: วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2536.
สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สานักนายกรัฐมนตรี, 2560. สานักงานเลขาธิการวุฒิสภา. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. บทความวิชาการ ปีที่ 3 ฉบับที่ 16. สานักวิชาการ, 2556.
สุวรรณี คงทอง. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าชายเลนในท้องที่อาเภอลังกา จังหวัดตรัง. กรุงเทพมหานคร: วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2536.
อคินรพีพัฒน์. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาชนบทในสภาพสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพการพิมพ์, 2527.
อรทัย ก๊กผล. คู่คิด คู่มือ การมีส่วนร่วมของประชาชน สาหรับนักบริหารท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์, 2552.
Robert V. Krejcie and Earyle W. Morgan.Determining Sampling Size for Research Activities.Journal of Education and Psychological Measurement, 1970.