การส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชน และผู้สูงอายุบ้านนาฝาย ตำบลนาฝาย อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

ณัฐดนัย แก้วโพนงาม

บทคัดย่อ

               การวิจัย เรื่องการส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชนและผู้สูงอายุ บ้านนาฝาย ตาบลนาฝาย อาเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1. เพื่อศึกษาบริบทชุมชนและประวัติศาสตร์ของชุมชนบ้านนาฝาย ตาบลนาฝาย อาเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ 2. เพื่อศึกษาสภาพความเป็นอยู่ ปัญหาอุปสรรคของคุณภาพชีวิตประชาชนและผู้สูงอายุบ้านนาฝาย ตาบลนาฝาย อาเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ 3. เพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชนและผู้สูงอายุบ้านนาฝาย ตาบลนาฝาย อาเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิให้ดีขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ประชาชนและผู้สูงอายุบ้านนาฝาย จานวน 302 คน ผลการวิจัย พบว่า สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและผู้สูงอายุบ้านนาฝาย มีสภาพความเป็นอยู่แบบพอเพียง บางคนพักอาศัยอยู่กับครอบครัว บางคนอาศัยอยู่คนเดียวเพราะลูกหลานไปทางานต่างจังหวัด ประชาชนบ้านนาฝายส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ทาไร่ ทานา ปลูกผักขาย บางคนเปิดร้านขายของชา ผู้สูงอายุที่ว่างงานส่วนหนึ่งก็จะทาการจักสานเป็นงานอดิเรกในแต่วัน ปัญหาอุปสรรคของคุณภาพชีวิตประชาชนและผู้สูงอายุบ้านนาฝาย ส่วนมากจะมีปัญหาด้านสุขภาพและปัญหาหนี้สิน ปัญหาสุขภาพ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดัน ปวดข้อปวดขา ปัญหาหนี้สิน ได้แก่ หนี้ ธกส. และหนี้นอกระบบ ส่วนปัญหาด้านอื่นๆได้แก่ ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่า สินค้าอุปโภคบริโภคราคาแพง ร้านค้าไม่ได้เข้าร่วมสวัสดิการของรัฐทาให้ขายของยาก แนวทางในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชนและผู้สูงอายุบ้านนาฝาย ตาบลนาฝาย อาเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ได้แก่ การส่งเสริมการรวมกลุ่มอาชีพในการประกอบอาชีพและการพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพเช่น การอบรมการทาขนมขาย การทาเครื่องจักรสาน การเพาะเห็ด การตรวจสุขภาพประจาทุกปี และนอกจากนี้อยากให้ติดกล้องวงจรปิดเพราะบางครั้งวัยรุ่นมั่วสุมเสพยาเสพติดและลักขโมยไก่ของชาวบ้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ. พ.ศ. 2546.
วิพรรณ ประจวบเหมาะ และศิริวรรณ ศิริบุญ, “ประชากรสูงอายุไทย” ใน รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย, กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, 2555.
สานักงานสถิติแห่งชาติ, รายงานข้อมูลผู้สูงอายุประเทศไทย, กรุงเทพมหานคร:สานักงานสถิติแห่งชาติ, 2557.
แสงเดือน มุสิกรรมณ, ความต้องการด้านกิจกรรมของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ, วิทยานิพนธ์สงคมสงเคราะห์ศาตรมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการโครงการสวัสดิการสังคม, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2545.
Hall, D. A., Medical care of the elderly, New York: John Wiley & Sons, 1976.
World Health Organization, The World Health Report Bridging the gaps, 1995.