การก้าวขึ้นสู่โครงสร้างอำนาจระดับชาติของคนไทยเกาะกงในกัมพูชา

Main Article Content

จุตินันท์ ขวัญเนตร

บทคัดย่อ

               งานวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยและกระบวนการก้าวขึ้นสู่โครงสร้างอานาจระดับชาติของคนไทยเกาะกงในกัมพูชา ผู้วิจัยเลือกใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเลือกวิธีวิทยาการวิจัยเครือข่ายสังคมแนวเศรษฐศาสตร์การเมือง ซึ่งเป็นการวิจัยที่บูรณาการการศึกษาในระดับจุลภาค (Micro level) และระดับมหภาค (Macro level) ร่วมกัน ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการขึ้นสู่โครงสร้างอานาจระดับชาติของชนชั้นนาคนไทยเกาะกงตั้งแต่สมัยตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส จนกระทั่งเมื่อสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองและสงครามภายในประเทศสิ้นสุดลง พร้อมกับปรากฏการณ์การขึ้นสู่โครงสร้างอานาจระดับชาติของเหล่าผู้นาพลพรรคไทยนั้น สามารถสรุปได้ว่า กระบวนการก้าวขึ้นสู่โครงสร้างอานาจระดับชาติของคนไทยเกาะกงนั้นเกิดจากการรวมตัวของคนไทยเกาะกง เพื่อสร้างเครือข่ายทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยมีลักษณะของเครือข่ายด้านอุดมการณ์ถือเป็นเครือข่ายสาคัญประการแรกที่ปรากฏขึ้นและอยู่คู่กับเครือข่ายด้านการเมืองและการทหารเสมอ การผสานกันของเครือข่ายทั้งสามนาไปสู่การก่อรูปของโครงสร้างอานาจระดับชาติในกัมพูชาภายใต้เงื่อนไขเชิงบริบทของสังคม เศรษฐกิจยามสงคราม และการเมืองที่มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของการตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสจากการล่าอาณานิคมและการเกิดสงครามกลางเมืองภายในประเทศตลอดช่วงเวลายาวนานกว่า 1 ศตวรรษ บนฐานทางวัฒนธรรมและทุนทางสังคมของความเป็นเครือญาติระหว่างคนไทยและคนไทยเกาะกงที่มีร่วมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรัญ โยบรรยงค์. รัฐบาลทมิฬ. กรุงเทพมหานคร: กรุงสยามการพิมพ์, 2528.
เตีย บัญห์. เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, จุตินันท์ ขวัญเนตร เป็นผู้สัมภาษณ์, วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ประมวลพระราชหัตถเลขา รัชกาลที่ 5 ที่เกี่ยวกับภารกิจของกระทรวงมหาดไทย เล่มที่ 2 ภาคที่ 3 ก. มหาดไทย, 2513.
ประเสริฐ ศิริ. เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, จุตินันท์ ขวัญเนตร เป็นผู้สัมภาษณ์, วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2558.
รุ่ง พราหมณ์เกษร. เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, จุตินันท์ ขวัญเนตร เป็นผู้สัมภาษณ์, 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558.
รุ่งมณี เมฆโสภณ . คนสองแผ่นดิน. กรุงเทพมหานคร: บ้านพระอาทิตย์, 2551.
หลวงสาครคชเขตต์, จดหมายเหตุความทรงจาสมัยฝรั่งเศสยึดจันทบุรี, 2539, หน้า 117 - 119
David Knoke. Political Networks: The Structural Perspective. Cambridge: Cambridge University Press. 1990
G. Willam Domhoff. Who Rules America: power and politics (Fourth Edition). 2002. p.cm.http://www.ccs.neu.edu/home/perrolle/archive/Ethier-SocialNetworks.html