คุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีในสังคมประชาธิปไตย ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้

Main Article Content

วินิจ ผาเจริญ

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาสารวจคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีในสังคมประชาธิปไตยของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีในสังคมประชาธิปไตยของจาแนกตามภูมิหลังของนักศึกษา และนาเสนอแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาได้แก่ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา 2560 สาขารัฐศาสตร์ และรัฐประศาสาศาสตร์ จานวน 351 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเรื่องคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีในสังคมประชาธิปไตย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนานา t-test และ One-Way ANOVA
               ผลการศึกษาพบว่า 1) นักศึกษามีคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีในสังคมประชาธิปไตยในภาพรวมที่ระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า นักศึกษามีคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีด้านคุณลักษณะพื้นฐาน รองลงมาคือ ด้านการเมืองการปกครองในสังคมประชาธิปไตย ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านความรู้และทักษะ ด้านเศรษฐกิจ 2) เปรียบเทียบคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีกับตัวแปรพื้นฐานจะพบว่า มีตัวแปรที่สามารถจาแนกความแตกต่างกันของคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ เพศ ภูมิลาเนา ชั้นปี และการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยเท่านั้น
               ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีในสังคมประชาธิปไตยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้แก่ 1) ควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเวทีประชุม สัมมนาหรือกิจกรรมทางวิชาการและทากิจกรรมร่วมกัน 2) ควรจัดให้มีการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคม เพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตยทุกภาคการศึกษา 3) ควรเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้างเช่น โรงเรียน วัด ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานต่างๆ เข้ามาถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับพลเมืองเพื่อให้เห็นว่าองค์กรเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาพลเมือง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ถวิลวดี บุรีกุลและคณะ. Citizenship in Thailand, สืบค้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2561 จากเว็ปไซต์ www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M10_452.pdf
ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ, ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ รายงานผลการวิจัย ทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2556.
ธีระวุฒิ เอกะกุล.ระเบียบวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี, 2543.
ประภัสสร ไพบูลย์ฐิติพรชัย, ความเป็นพลเมืองของนักศึกษาโรงเรียนพณิชยการบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2553
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล, Civic Education. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์. 2555
พลเมืองดีของประเทศและสังคมโลก, สืบค้นเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2561 จากเว็ปไซต์ https://mapichatblog.wordpress.com/2015/11/16
ลัดดาวรรณ์ สุขใหญ่, ความเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่: ศึกษาเปรียบเทียบประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอาเภอเมืองกับอาเภอดอยสะเก็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2551
วิชัย ภู่โยธินและคณะ, หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดาเนินชีวิตในสังคม. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์, 2551
วีรพงษ์ นกน้อย, The Civil Virtue: A Case Study of Undergraduate Students of Kasetsart University. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต รัฐศาสตร์, 2546
สถาบันพระปกเกล้า, การพัฒนาความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ในการประชุมวิชาการของสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 13, ระหว่างวันที่ 22-24 มีนาคม 2555 ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ, หน้า 5
อรพันทร์ ชูชมและอัจฉรา สุขารมณ์, องค์ประกอบที่สัมพันธ์กับการปรับตัวของนักศึกษาวัยรุ่น. รายงานการวิจัยฉบับที่ 48. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2532, หน้า 17-18
Kaplan, Louis. Mental Health and Human Relation in Education. New York: Harber and Brothers. 1959