การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของศูนย์ศึกษา พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 13
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 13 (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 13 (3) เพื่อนาเสนอรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 13 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม และทาการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ทรงคุณวุฒิ 15 รูป/คน พร้อมกับการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิ 13 รูป/คน ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างจานวน 390 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเพื่อหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัจจุบันการบริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 13 แบ่งการบริหารงานเป็น 4 ด้านคือ วิชาการ บุคคล งบประมาณและบริหารงานทั่วไป โดยพบว่าการบริหาร งานมีปัญหา ดังนี้ ด้านการบริหารวิชาการ ผู้บริหารขาดความรู้ ความเข้าใจในหลักการจัดการ ผู้สอนขาดความรู้ ความชานาญ ขาดเทคนิควิธีการสอนที่ทันสมัย ด้านการบริหารงบประมาณ ได้รับงบประมาณสนับสนุนไม่เพียงพอต่อการบริหารจัดการ ต้องขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากภายนอกมาใช้จ่าย ด้านการบริหารบุคคล พระวิทยากร และครูผู้สอนไม่เพียงพอ ขาดความชานาญในการสอน ด้านการบริหารงานทั่วไป ในส่วนของอาคารที่ใช้ในการเรียนการสอนส่วนมากจะใช้ศาลาการเปรียญ พระอุโบสถ และห้องเรียนของโรงเรียนภายในวัด
2. การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมสาหรับศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พบว่า ต้องทาการพัฒนาบนพื้นฐานการบริหารงาน 4 ด้าน เช่นกัน คือ วิชาการ บุคคล งบประมาณ และ บริหารงานทั่วไป ภายใต้การมีส่วนร่วม 4 ด้าน คือ 1) ร่วมตัดสินใจ 2) ร่วมปฏิบัติ 3) ร่วมรับประโยชน์ 4) ร่วมประเมินผล โดยนาหลักพุทธธรรม อปริหานิยธรรม สังคหวัตถุ สาราณียธรรม มาส่งเสริม สนับสนุน การบริหารงานในแต่ละด้าน ดังนี้ ด้านการบริหารวิชาการ ในหลักอปริหานิยธรรมควรมีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันทุกฝ่ายในการกาหนดหลักสูตร ด้านงบประมาณ ผู้บริหารควรขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน คิดวางแผนจัดกิจกรรมในการหารายได้ ด้วยการให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆ ตนเพื่อประโยชน์แก่คนในชุมชนตามหลักสังคหวัตถุ ด้านการบริหารงานบุคคล ควรมีการจัดอบรมให้ความรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาทักษะในการเรียนการสอนของพระสงฆ์ พระวิทยากร และครูผู้สอนด้วยความสามัคคี เครื่องมือในการเสริมสร้างความสามัคคีมีน้าหนึ่งใจเดียวกันคือสาราณียธรรม ด้านการบริหารงานทั่วไป ปรับปรุงศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สมบูรณ์ ให้เยาวชนและประชาชนศึกษาหาความรู้ หรือมาทากิจกรรมต่างๆ ตามความเหมาะสม สนับสนุนการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
3. รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมสาหรับศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 13 มีลักษณะ ดังนี้ การบริหาร งาน 4 ด้าน ด้วยความมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในการคิด การปฏิบัติ การตัดสินใจ รับประโยชน์ และติดตามผลโดย บูรณาการด้วยหลักพุทธธรรม คือด้านวิชาการ จัดการเรียนการสอนด้วยหลัก ไตรสิกขา ให้เด็กเกิดพัฒนา 4 ด้าน บริหารงบประมาณ ด้วยความเสียสละ ซื่อสัตย์ และโปร่งใส บริหารงานบุคคลด้วยเมตตามโนกรรม การคิดดี การมองกันในแง่ดี เมตตาวจีกรรม การพูดแต่สิ่งที่ดี เมตตากายกรรม การทาความดีต่อกัน และบริหารงานทั่วไป ด้วยกิจกรรมเชิงพุทธ
Article Details
References
กรมศาสนากระทรวงวัฒนธรรม. ข้อมูลสถิติจากเอกสารโครงการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์เพื่อเฉลิมฉลองพุทธชยันตี 2600 ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า งบประมาณปี 2555.
กรมการศาสนา ระบบฐานข้อมูลศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์. ประวัติความเป็นมา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2560 จากเว็ปไซต์ https://www.dra@m-culture.go.th/ dra_learn/main.php?filename=about_us
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค, 2545.
เจริญ ราชโสภา. “การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา”. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2554).
ปารณทัตต์ แสนวิเศษ. “การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนประถมศึกษา : การสร้างทฤษฎีจากฐานราก”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2555.
ปรีชา กันธิยะ. “การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนที่พักมีส่วนร่วมในการสอนศีลธรรม”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม, 2552.