การตีความภาพพุทธศิลป์ที่ปรากฏในเอกสารโบราณของจังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
รายงานการวิจัยเรื่อง การตีความภาพพุทธศิลป์ที่ปรากฎในเอกสารโบราณของจังหวัดลาปาง มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ เพื่อศึกษาการตีความภาพพุทธศิลป์ที่ปรากฏในเอกสารโบราณของจังหวัดลาปาง งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผู้วิจัยจะทาการสนทนากลุ่ม (Focus Group) คือ ปราชญ์ชาวบ้านที่เชี่ยวชาญในเรื่องภาพพุทธศิลป์ และนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลาปาง
จากการศึกษา พบว่า ศิลปะกับศาสนาเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์คู่กันมานับตั้งแต่โบราณกาล เพราะศิลปะมักถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อในการเผยแพร่ศาสนาไปยังศาสนิกชนหรือสร้างเพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของศาสนา และอาจกล่าวได้ว่า ศาสนาเป็นบ่อเกิดของศิลปะอันวิจิตร เมื่อมนุษย์มีความศรัทธาในศาสนา ก็จะทุ่มเทอุทิศตนเพื่อสร้างสรรค์ สิ่งที่ดีงามให้บังเกิดขึ้นแก่ศาสนาที่ตนเองนับถือ โดยเนื้อหาหรือเป้าหมายของศาสนศิลป์มุ่งเน้นที่ความดีงามและความสวยงาม และเพื่อเป็นสื่อในการเผยแพร่ปรัชญาของแต่ละศาสนา
สำหรับสังคมในจังหวัดลาปาง ซึ่งเป็นสังคมแห่งพระพุทธศาสนา มีรากฐานต่างๆ ทั้งความคิด ความเชื่อ ประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรม มาจากพระพุทธศาสนา ศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาจึงมีมากมายในจังหวัดลาปาง ไม่ว่าจะเป็นศาสนสถาน เช่น วัด อุโบสถ เจดีย์ วิหาร หรือ ศาสนวัตถุ เช่น พระพุทธรูป ตู้พระธรรมธรรมมาสน์ เอกสารโบราณ แม้กระทั่งภาพวาดหรือจิตรกรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งศิลปกรรมเหล่านี้ถูกเรียกว่าพุทธศิลป์ การรับรู้ของประชาชนในทางศิลปะ เป็นการสัมผัสจากอวัยวะต่างๆ ที่ใช้ในการรับรู้ ตีความหมายออกเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ว่าการรับรู้นั้นจะเกิดจากประสาทส่วนใด หรือการรับรู้นั้นจะเกิดขึ้นเวลาใด การตีความหมายสาหรับการรับสัมผัสหรือการรับรู้นั้นมีจุดหมายเพื่อให้ทราบว่าสิ่งที่ได้รับรู้นั้นคืออะไร มีความหมายอย่างไร และการตีความหมายได้นั้น ผู้รับสัมผัสหรือผู้รับรู้นั้นจะต้องมีประสบการณ์ในสิ่งนั้นๆ มาก่อน หากผู้รับสัมผัสหรือรับรู้ไม่มีประสบการณ์ในสิ่งนั้นๆ มาก่อน การตีความหมายก็คงจะทาไม่ได้หรือหากทาไปก็จะเกิดความผิดพลาด ฉะนั้น ประสบการณ์การเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ จึงเป็นปัจจัยหนึ่งต่อกระบวนการรับรู้หรือสัมผัสด้วย
Article Details
References
คณะกรรมการอานวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดลาปาง. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการอานวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, 2542
พระราชวรมุนี (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์, 2528
ศรีใจ กันทะวัง. ความรู้สึกดีงามในลวดลายพุทธศิลป์ล้านนา. ศิลปะมหาบัณฑิต (จิตรกรรม) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2552
ศักดา บุญยืด. การศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณค่าศิลปะไม้แกะสลักในหอไตรภาคอีสานตอนล่างของผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ และนักศึกษาระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาศิลปศึกษา สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาตรี โปรแกรมวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
ศักดิ์ชัย เกียรตินาคินทร์. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าศิลปกรรมกับการสร้างทัศนคติต่อคนเองและความผูกพันกับชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.
สุชาติ เถาทอง. ทัศนศิลป์กับมนุษย์การสร้างสรรค์และสุนทรียภาพ. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์, 2545