การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเชิงพุทธบูรณาการ: กรณีศึกษาการฟื้นฟูประเพณีแห่ช้างเผือกในพื้นที่ลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน

Main Article Content

พัลลภ หารุคำจา และคณะ

บทคัดย่อ

                งานวิจัย เรื่อง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเชิงพุทธบูรณาการ: กรณีศึกษาการฟื้นฟูประเพณีแห่ช้างเผือกในพื้นที่ลุ่มน้าลี้ จังหวัดลาพูน มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ ศึกษากระบวนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติชองชาวพุทธลุ่มน้าลี้ กระบวนการฟื้นฟูรูปแบบและสาระประเพณีการแห่ช้างเผือกและการเสริมสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของพื้นที่ลุ่มน้าลี้เชิงพุทธบูรณาการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ นาข้อมูลการวิจัยภาคสนามมาวิเคราะห์ในเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติชองชาวพุทธลุ่มน้าลี้ สิ่งแวดล้อม คือ สิ่งที่มีอยู่รอบๆ ตัวเรา ทั้งส่วนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมได้ถูกทาลายไปทุกวันๆ อย่างน่าเป็นห่วง พระพุทธองค์ทรงประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน แสดงธรรม ที่ประทับล้วนอยู่ท่ามกลางป่าและพระสงฆ์สาวกทั้งหลายดาเนินชีวิตอยู่กับป่ามีความสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด
                กระบวนการฟื้นฟูรูปแบบและสาระประเพณีการแห่ช้างเผือก เป็นพิธีกรรมการแห่ช้างที่ทาจากไม้ไผ่สานโครงเป็นรูปช้าง และตกแต่งด้วยด้ายสีขาว เป็นสัญลักษณ์แทนพระยาปัจจัยนาเคนทร์ ช้างคู่บารมีของพระเวสสันดร ถ้าหากปีใดเกิดวิกฤตการณ์ ความแห้งแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล แม่น้าแห้งขอด ชาวบ้านจะจัดพิธีขอฟ้าของฝนขึ้นมา กระบวนการแห่ช้างเผือกสามารถเชื่อมร้อยพลังของคนในลุ่มน้าได้เป็นอย่างดี คนในท้องถิ่นเดียวกันได้มีพื้นที่การทางานร่วมกัน สร้างพลังในการจัดการปัญหาต่างๆ และแสวงหาแนวทางในการดูแลป่าไม้ การเสริมสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของพื้นที่ลุ่มน้าลี้เชิงพุทธบูรณาการ ความคิดในการสร้างเครือข่ายในพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ป่าต้นน้าลี้ การสร้างกลุ่มเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยการสืบชาตาป่า สืบชาตาแม่น้า เลี้ยงผีฝาย เลี้ยงผีขุนน้า และการแห่ช้างเผือกที่มีนัยทางด้านการจัดการธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ผ่านแนวทางคาสอนทางพระพุทธศาสนาที่ให้รู้จักคุณค่าของธรรมชาติ รู้จักการใช้ รู้จักการรักษาให้คงอยู่สืบต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
วิ.มหา. (ไทย) 2/653/737.
วิ.มหา. (ไทย) 2/896/836.
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, “ลุ่มน้าภาคเหนือ และการฟื้นฟูต้นน้าองค์กรประชาชน”, เอกสารประกอบการสัมมนา ความร่วมมือเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูลุ่มน้าภาคเหนือ, เชียงใหม่: มปพ, 2536
นพพร นิลณรงค์, ที่อยู่ 50 หมู่ 3 บ้านปงชัย ตาบลเหมืองจี้ อาเภอเมือง จังหวัดลาพูน 51000, 10 ธันวาคม 2559.
นิติกรณ์ วงค์ชัย, “การจัดการน้าของระบบเหมืองฝายท่าศาลา อาเภอเมืองเชียงใหม่”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2553
เสรี พงศ์พิศ, คืนสู่รากเหง้า, กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์เทียนวรรณ, 2529
อนันทชาต เขียวชอุ่ม, “การจัดการทรัพยากรน้าเพื่อการเกษตร: กรณีศึกษาอ่างเก็บน้าแม่ยาว อาเภอห้างฉัตร จังหวัดลาปาง”. การค้นคว้าแบบอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2544