การมีส่วนร่วมของชุมชนในนโยบายการจัดการแหล่งท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษา บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

พระวิชชญะ น้ำใจดี
เพ็ชรัตน์ ไสยสมบัติ

บทคัดย่อ

                การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดาเนินงานในนโยบายการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี 2. เพื่อศึกษาประโยชน์ในการนานโยบายการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของชุมชนบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีไปปฏิบัติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสาคัญ ได้แก่ ผู้รับผิดชอบนโยบายของเทศบาลตาบลบ้านเชียง เจ้าหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง และตัวแทนประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านเชียง
                ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของชุมชนในนโยบายการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านเชียง ชุมชนไม่มีส่วนร่วมในการกาหนดนโยบาย แต่มีส่วนร่วมในการดาเนินงานตามนโยบายเป็นอย่างดีมีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์ของนโยบายการจัดการแหล่งท่องเที่ยว เกิดเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทพวนเพื่ออนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรมของไทพวนบ้านเชียง และเกิดกลุ่มอาชีพเพื่อเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดาเนินกิจกรรมต้อนรับนักท่องเที่ยว โดยการเข้ากลุ่มอาชีพตามความถนัดของตน และการเปิดบ้านเป็นที่พักแบบโฮมสเตย์ให้นักท่องเที่ยวได้เข้าพักและสัมผัสวิถีชีวิต การกิน การแต่งตัว และวัฒนธรรมไทพวนที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านเชียง ทาให้เกิดเป็นรายได้ของชุมชน
               ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านเชียงในนโยบายการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สาคัญได้แก่ กลุ่มอาชีพส่วนใหญ่ขาดผู้ที่จะมาสืบทอดภูมิปัญญา ไม่มีรถโดยสารประจาทางมาที่แหล่งท่องเที่ยว ไม่มีจุดต้อนรับนักท่องเที่ยว และผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อโบราณวัตถุ มาจากการนารถใหญ่เข้าใกล้บริเวณพิพิธภัณฑ์และการจัดงานมหรสพเสียงและแรงสั่นสะเทือนทาให้โบราณวัตถุอาจะเกิดความเสียหายได้ เพราะบ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีที่อยู่ใต้ดิน
                 ข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านเชียงในนโยบายการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ควรให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการกาหนดแนวทางและวางแผนในการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในการรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จัดสรรเจ้าหน้าที่ มัคคุเทศก์ ประจาจุดประชาสัมพันธ์เพื่อแนะนานักท่องเที่ยว หน่วยงานราชการในระดับนโยบายควรจัดการประชุมเพื่อหาทางออกในการแก้ปัญหาเพื่อไม่ให้กระทบต่อแหล่งโบราณวัตถุ จัดสรรงบประมาณสนับสนุนปรับปรุงทัศนียภาพ แหล่งท่องเที่ยวและจัดกิจกรรมหรือโครงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้ต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. สถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ปี 2559, 2560.
กุลธิดา สามะพุทธิ. “การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม : ทางเลือกใหม่ของการเดินทาง”. สารคดี. 13 (พฤศจิกายน 2540), หน้า 36-38.
เกียรติศักดิ์ เรือนทอง. “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมของสตรีในการพัฒนาศึกษาเฉพาะกรณีสหกรณ์นิคมอาเภอทองผาภูมิจังหวัดกาญจนบุรี”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร, 2536.
ชนัญ วงษ์วิภาค. “ประโยชน์ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545.
เทศบาลตาบลบ้านเชียง. แผนยุทธศาสตร์. จังหวัดอุดรธานี, 2555.
สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร.
สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-11. กรุงเทพเทพมหานคร, 2552.
สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สรุปสาระสาคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพมหานคร, 2560.
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. หลักการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาชนบท. กรุงเทพเทพมหานคร: ไทยอนุเคราะห์ไทย, 2526.