เกษตรวิถีกับการบริหารจัดการตามแนวคิด LEAN THINKING
Main Article Content
บทคัดย่อ
ต้นทุนการผลิตสูง ตลาดไม่แน่นอน ผลผลิตตกต่า เสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ มีรายได้ไม่เพียงพอ และเป็นหนี้สิน ถือเป็นปัญหาสาคัญสาหรับเกษตรกร การจัดการต้นทุนจึงถือเป็นปัจจัยสาคัญที่จะเป็นตัวชี้วัดและบ่งบอกได้ว่าการเกษตรในปัจจุบันนี้จะมีโอกาสการอยู่รอดมากแค่ไหน ขณะเดียวกันการทราบต้นทุนที่แท้จริงยังจะมีส่วนช่วยให้เกษตรกรสามารถกาหนดรายละเอียดในการวางแผนการเพาะปลูกและการหาช่องทางการจัดจาหน่ายให้เหมาะสมในอนาคตด้วย
การนาแนวคิดทางการบริหารจัดการของ Lean Thinking มาประยุกต์ใช้ในภาคการเกษตร ไม่ได้มุ่งหมายเพียงแค่การกาจัดความสูญเปล่าในการเพาะปลูกเท่านั้น หากแต่แนวคิดแบบ Lean ยังมุ่งสู่การป้องกันการสูญเปล่าก่อนเกิดเหตุหรือเผชิญความเสี่ยง ทาให้แนวคิดเกษตรวิถีที่ผสมผสานกลิ่นไอแนวความคิดแบบ Lean จึงเป็นการทาการเกษตรที่มุ่งหมายจะอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างพึ่งพาอาศัย ธารงรักษาไว้ซึ่งความยั่งยืน มีการพึ่งพาตนเองอย่างมีเหตุมีผล มีวิธีการจัดการต้นทุนการผลิตในขั้นตอนต่างๆ ผ่านกระบวนการวางแผนเพื่อลดความสูญเปล่าที่จะเพิ่มรายจ่าย มีการพัฒนาทางด้านทักษะการเรียนรู้แล้วนาไปสู่การปฏิบัติ จนเกิดประสบการณ์ที่ตกผลึกเป็นองค์ความรู้ในการ 1) ลดรายจ่าย 2) เพิ่มรายได้ และ 3) ขยายโอกาส เป็นการส่งเสริมให้เกิดการพอมี พอกิน และเลี้ยงดูครอบครัวให้มีความสุข มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยการพึ่งพาตนเองบนพื้นฐานของความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งทางกาย ทางวาจาและทางใจ คานึงถึงสังคม ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และพึ่งพิงและแอบอิงกับธรรมชาติ
Article Details
References
ชาตรี คาจิ่งและคณะ. “แนวทางการลดต้นทุนการผลิตกระเทียมนา บ้านนาปลาจาด ตาบล ห้วยผา อาเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน”. รายงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สกว., 2554.
ดวงสมร ฟักสังข์. “การบริหารต้นทุนของกลุ่มผู้ผลิตน้าตาลมะพร้าวในจังหวัดสมุทรสงคราม”. รายงานการวิจัย. คณะวิทยาการจัดการ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2555.
พรม จาระณะและคณะ. “รูปแบบการลดต้นทุนการผลิตพืชเศรษฐกิจเพื่อการพึ่งตนเองของชุมชน : กรณีศึกษาพืชเศรษฐกิจ 3 ชนิด ข้าว อ้อย มันสาปะหลัง ตาบลหูทานบ อาเภอปะคา จังหวัดบุรีรัมย์”. รายงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว), 2553.
มีชัย เรามานะชัยและคณะ. 100 แนวคิดและเทคนิคพิชิตต้นทุนแบบรวบยอด. กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), 2545.
รัตติยา พรมกัลป์. “การบริหารจัดการต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญของเกษตรกรอาเภอเมืองนครสวรรค์”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2559.
วรณี จิเจริญและคณะ. เศรษฐศาสตร์ทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคาแหง, 2552.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. 50 แนวคิด ตัวชี้วัด ตัวแบบของการบริหารจัดการและการบริหารจัดการที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์ เอ็นโฟร์ โปรพริ้น จากัด, 2559.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ธรรมสาร จากัด, 2552.
สุธาสินี โพธิจันทร์. “PDCA หัวใจสาคัญของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง”. วารสาร Productivity World. ฉบับวันที่ 27 มีนาคม 2515.
Alderfer. Clayton P. Existence Relatedness and Growth. New York: Free Press, 1972.